Page 93 - sittichok
P. 93

หน่วยที่ 6


            การจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร


            บทน า

            เมื่อมีการคิดที่จะท าการสิ่งใดจะต้องมีการให้แนวคิดกับผู้ปฏิบัติงานก่อนลงมือปฏิบัติ

            โครงการที่จะได้    รับการอนุมัติจะต้องมีความสมเหตุสมผล        เมื่อพิจารณาแล้วสามารถ
            ปฏิบัติงานจริงได้ จะต้องมีการน า องค์ประกอบของการเขียนโครงการมาใช้อย่างครบถ้วน

            เพื่อความเข้าใจอย่างชัดเจนของผู้อนุมัติหรือผู้ที่ เกี่ยวข้องกับโครงการ

            การจดสิทธิบัตร

            สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวทุกคนมากที่สุด หรืออาจจะ กล่าว

            ได้ว่า สิทธิบัตรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของทุก ๆ คน คือ สิ่งของหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้
            ในชีวิตประจําวันล้วนแล้วแต่เป็นผลที่ได้จากการประดิษฐ์คิดค้นทั้งสิ้น


            1. สิทธิบัตรคืออะไร

              สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสําคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือ การ
            ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกําหนด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิทธิบัตร

            หมายถึง สิทธิพิเศษที่ถูกกฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิ มีสิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้
            เดียว   ในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์           หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ

            สิทธิบัตรนั้น เช่น การผลิตและจําหน่าย เป็นต้น และสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่
            จํากัดช่วงหนึ่งเท่านั้น


              การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือ
            กลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของ
            ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม


            2. ผลที่ได้จากสิทธิบัตร

              2.1 ในด้านของประชาชน


            โดยทั่วไป สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีผลจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์
            ซึ่งก็คือสิทธิบัตรนั่นเอง นอกจากจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่อํานวย













                                                     86
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98