Page 6 - Annual Report 2018 (E-book)
P. 6
ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน
ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ความเป็นมาของการศึกษาเอกชน
การศึกษาเอกชนนับเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยล้านนาไทยและสุโขทัย มีวัง วัด และบ้าน
เป็นสถานที่ให้การศึกษา ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการก าหนดนโยบาย
การจัดการศึกษาเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกในโครงการศึกษา ร.ศ. 117 หรือ ปีพุทธศักราช 2441 โดยมี
คณะมิชชันนารีชาวอเมริกันจัดตั้งโรงเรียนเชลยศักดิ์ขึ้น แบ่งออกเป็นโรงเรียนเชลยศักดิ์ในบ ารุงและนอก
บ ารุง หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนจากโรงเรียนเชลยศักดิ์เป็นโรงเรียนบุคคล ตามระเบียบการศึกษาส าหรับ
ประเทศสยาม พุทธศักราช 2454 แบ่งออกเป็นโรงเรียนที่สอนวิชาสามัญกับโรงเรียนที่สอนเฉพาะทาง
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2461 รัฐบาลได้เล็งเห็นความส าคัญของการศึกษาเอกชน โดยประกาศ
พระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2461 และกระทรวงศึกษาธิการ ได้
ถือเอาวันดังกล่าวเป็น “วันการศึกษาเอกชน”
นับเนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์เป็นต้นมา การศึกษาเอกชนก็เป็น
ที่นิยมและเพิ่มจ านวนมากขึ้น ในช่วงนั้นมีโรงเรียนราษฎร์ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของรัฐและผู้ปกครอง เช่น
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2413) โรงเรียนอัสสัมชัญ (จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2420) โรงเรียน
กรุงเทพคริสเตียน (จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2431) โรงเรียนราชินี (จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2446 ที่ต าบลปากคลองตลาด)
เป็นต้น หลังจากนั้น ได้มีการแก้ไขและปรับปรุงพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ให้สอดคล้องกับสภาพการ
จัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2479
จนกระทั่งเป็นพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และเปลี่ยนมาเป็นพระราชบัญญัติโรงเรียน
เอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า
การศึกษาเอกชนเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาในระบบของเมืองไทย มีบทบาทในการจัดการศึกษาควบคู่กับ
การศึกษาภาครัฐช่วยสนองตอบความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนได้เป็นอย่างดี
ตราเครื่องหมายทางราชการ
ตราเครื่องหมายทางราชการของส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นรูปวงกลม
2 ชั้นวงกลมชั้นนอกเป็นเส้นทึบภายในวงกลมชั้นในเป็นรูปเสมาธรรมจักร ซึ่งหมายถึงการศึกษา ล้อมรอบ
ด้วยดอกบัว ซึ่งหมายถึงประชาชน ดวงตรานี้มีความหมายว่า "ประชาชนส่งเสริมสนับสนุนและเทิดทูน
การศึกษา"
หน้าที่ 2