Page 26 - ตำรา
P. 26

พ.ศ.2473 ได้มีการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทย ชื่อว่าสถานีวิทยุ

               กรุงเทพ ฯ ที่พญาไท ส่งกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ โดยอัญเชิญพระราชดำรัสของรัชกาลที 7 ที่พระราชทาน
               แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ฯ

                       พ.ศ.2479 สถานีวิทยุกรุงเทพฯ เครื่องส่งที่พญาไท ได้ย้ายไปรวมกิจการกับสถานีเครื่องส่งวิทยุที่ศาลา

               แดง ทำการกระจายเสียงโดยใช้ชื่อใหม่ว่า สถานีวิทยุกรุงเทพ ฯ ที่ศาลาแดง 7 พีเจ
                       พ.ศ.2482 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐบาลโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงไปอยู่กับสำนักงาน

               โฆษณาการ (ต่อมาเป็นกรมโฆษณาการได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์) พ.ศ.2484 ได้เปลี่ยนชื่อสถานีวิทยุ
               เดิมเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย


               การใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา

                       1.ใช้เพื่อการสอนหรือฝึกทักษะโดยตรง โดยจัดรายการสอนตามหลักสูตร


                       2. ใช้เพื่อเสริมเนื้อ หาหลักสูตรให้สมบูรณ์ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน

                       3. ใช้ในลักษณะผสมผสานกับสื่ออื่นเพื่อการสอนทางไกล

                       4. ใช้แบบโปรยหว่าน


                       5. ใช้ในรูปของการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่

                       6. ใช้ในลักษณะการจัดตั้งองค์กรผู้ฟังหรือกลุ่มผู้ฟัง รายการวิทยุจะเป็นประโยชน์ตรงตามความ

               ต้องการของกลุ่มผู้ฟัง

                       7. ใช้ในรูปการสื่อสาร 2 ทาง เปิดโอกาสให้มีการตอบคำถามทางโทรศัพท์

               คุณค่าทางการสอนของวิทยุกระจายเสียง
                       1. สามารถนำเสนอเรื่องราวที่ทันเหตุการณ์อย่างดีเยี่ยม
                       2. สามารถให้ความรู้สึกและความประทับใจและเป็นจริง

                       3. สามารถเอาชนะข้อจำกัดในเรื่องเวลา และความห่างไกล โดยสอนได้ทั้งเรื่องในอดีตและปัจจุบันไม่
               ว่าจะเกิดขึ้น ณ สถานที่ใด

                       4. สามารถเร้าอารมณ์ผู้ฟงให้คล้อยตามได้โดยการใช้เสียง คำพูด และดนตรี
                                           ั
                       5. ค่าใช้จ่ายน้อยถ้าเทียบกับอปกรณ์การสอนประเภทอื่น (เปรียบเทียบกับจำนวนผู้เรียน)
                                               ุ
                       6. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหา วิชาการ และวิธีสอน
                       7.ช่วยทางด้านอื่น ๆ เช่น พัฒนาทักษะการฟัง การอ่าน เป็นต้น


               ข้อจำกัดของการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
                                                                       ี
                       1. ต้องการสมาธิในการฟัง เพราะวิทยุมีเสียงเป็นส่งิดึงดูดเพยงอย่างเดียว
                       2. เป็นการติดต่อสื่อสารทางเดียว (one way communication) ไม่ทราบคำตอบทันที
                                                                      ่
                       3. เวลาการออกอากาศ มีตารางกำหนดแน่นอน จึงอาจไมตรงกับชั่วโมงการเรียนในชั้นเรียน
                       4. ผู้ฟังไม่สามารถฟังรายการวิทยุก่อนล่วงหน้า หรือเปิดฟังอีกในตอนหลังเหมือนเทปบันทึกเสียง


                                                           16
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31