Page 34 - ตำรา
P. 34

กระแสการแข่งขันกับรายการบันเทิงของสถานีวิทยุเพื่อการค้า  ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงนั้น วิทยุศึกษา

               ยังคงยึดมั่นในหลักการและเป็นสถานีวิทยุที่ไม่มีโฆษณา

                                วารสารวิทยุศึกษาที่เคยออกอากาศรายเดือนซึ่งแจกให้ผู้สนใจ ห้องสมุด และหน่วยงานต่างๆ
               ต่อเนื่องกันมา ได้มีการยกเลิกไปในยุคนี้ แต่วิทยุศึกษายังคงติดต่อสัมพันธ์กับผู้ฟังอยู่ตลอดเวลา มีการจัด

                              ั
                                                                                                   ั
               กิจกรรมพบปะผู้ฟงประจำปี เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเพื่อทราบความต้องการของผู้ฟง นำมา
               พัฒนาการจัดและเผยแพร่รายการของวิทยุศึกษาให้ผู้ฟงได้รับประโยชน์มากที่สุด
                                                            ั
               ยุคปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน)

                       สถานีวิทยุศึกษาปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด

               สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน เพื่อสร้างศักยภาพและความสามารถในการแขงขัน ปรับตัว รู้เท่า
                                                                                          ่
               ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม และอนุรักษ์สืบทอด
               ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม จึงเน้นการพัฒนาคุณภาพรายการและการออกอากาศ โดยเฉพาะการขยายช่อง

               ทางการรับฟัง ทั้งการรับฟังผ่านดาวเทียม และระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเลือกรับฟังรายการได้ตาม
               ความต้องการและในเวลาที่สะดวก ปัจจุบันสถานีวิทยุเพื่อการศึกษานอกจากกระจายเสียงด้วยระบบ FM

               ความถี่ 92 MHz และระบบ AM ความถี่ 1161 KHz แล้ว ยังสามารถรับฟังผ่านระบบดาวเทียมได้ทาง ช่อง R
               30 และทางระบบอินเทอร์เน็ตที่ www.moeradiothai.net ซึ่งผู้ฟังสามารถรับฟังได้ทั้งรายการสด (Live

               Radio) และเลือกรับฟังรายการตามความต้องการ (Radio on Demand)

                       ส่วนในการดำเนินงานของสถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีจัดการวางแผนบริหารจัดการ
               อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน มีการจัดทำฐานข้อมูลผู้ฟัง ประชาสัมพันธ์รายการและสถานี ดำเนินการ

               สำรวจ ติดตามประเมินผลการรับฟัง เพื่อนำข้อมูลทางวิชาการมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนางาน
               ให้มีประสิทธิภาพ การจัดรายการส่งเสริมและสนับสนุนในการปฏิรูปการศึกษา เพอสร้างความเข้าใจและ
                                                                                  ื่
               ประชาสัมพันธ์การปฏิรูปการศึกษาแก่ประชาชน การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ  ในการเสริมสร้างสุข
               ภาวะของประชาชน รายการที่จัดออกอากาศ  เช่น รอบรั้วเสมา เพื่อนยามเย็น คลินิกรักษ์สุขภาพ ชีวิต

               ธรรมชาติ พูดจา ภาษาไทย วิถีไอที เป็นต้น



               สรุป
                       จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจะเห็นว่าประวัติของวิทยุเพื่อการศึกษา มีการเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2501

               มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมคุณภาพของการเรียนการสอนในโรงเรียนชนบทที่อยู่ห่างไกลและขาดแคลนครู
               รวมถึงอุปกรณ์ ในการเรียนการสอน ซึ่งในบางช่วงก็มีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องจากยังขาดทุนทรัพย์ วิทยุ

                                                                ี
               ศึกษาเป็นการให้บริการทางการศึกษาแบบให้เปล่า คือไม่มค่าบริการ แต่ต่อมาได้รับความช่วยเหลือและได้เงิน
               ยืมจาก IDA แห่งธนาคารโลกจึงสามารถดำเนินการต่อได้ และสามารถตั้งศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ณ ถนน
               พญาไท มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการศึกษา วิทยุศึกษากระจายเสียง
               ด้วยระบบระบบ FM ความถี่ 92 MHz และระบบ AM ความถี่ 1161 KHz แล้ว ยังสามารถรับฟังผ่านดาวเทียม

               ได้ทาง ช่อง R 30 และทางอินเทอร์เน็ตที่ www.moeradiothai.net จนถึงปัจุบัน




                                                           24
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39