Page 40 - ตำรา
P. 40

6. ประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจ เมื่อแจกบทและแจกแจงหน้าที่ให้ทุกคนในฝ่ายผลิตรายการ

                                                                   ิ
               แล้ว ต้องนัดคุยแต่ละฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันและไม่ให้เกดข้อผิดพลาด
                              7. ประเมินรายการขั้นซักซอมก่อนออกอากาศหรือก่อนบันทึกเทปจริง ผู้ผลิตรายการต้องนัด
                                                    ้
               ทีมงานมาเพื่อซักซ้อมการผลิตและประเมินรายการคร่าวๆ จะเป็นการซ้อมเสมือนจริง ผู้ผลิตรายการจะนั่งฟัง

                                          ้
               อย่างตั้งใจเพื่อติชมและหาข้อแกไขของรายการ
                              8. ประเมินรายการขั้นออกอากาศหรือบันทึกเทป หลังจากซ้อมจนเหมาะสมและพอใจแล้ว

               จะทำการบันทึกเทปหรือออกอากาศตามเวลาที่กำหนด จากนั้นเป็นการประเมินหาข้อผิดพลาดเพื่อนำ
               จุดบกพร่องเหล่านั้นไปแจ้งแก่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปรับปรุงในการผลิตรายการครั้งต่อไป


                       นอกจากนี้ผู้ผลิตรายการวิทยุที่ดีควรมี ควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไม่ซ้ำแบบใคร มีความสามารถใน
               การวางแผนและการบริหาร มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความสุขขุมรอบคอบ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มี
               ใจกว้างรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน มีความเข้าใจในกระบวนการการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

               เป็นอย่างดี มีรสนิยมดี มีศิลปะ มีสำนึกความรับผิดชอบที่ดี มีวินัยตรงต่อเวลา ใฝ่รู้และสนใจหาข้อมูลใหม่ๆอยู่
               เสมอ มีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์และสนใจกระแสสังคม


                       3. ผู้เขียนบท (script writer) ทำหน้าที่คิดบท กำหนดประเด็นเนื้อหาจากที่ฝ่ายจัดรายการวางแผน
               มาแล้ว ค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเรียบเรียง ในการเขียนบทจะต้องใช้ภาษาที่ถูกต้อง กระชับ เข้าใจง่ายและใช้ภาษา

               ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบรายการ โดยบทบาทหน้าที่ของผู้เขียนบทมี ดังนี้

                              1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายวางแผนการผลิตอย่างรอบคอบก่อนลงมือเขียน โดย

               วิเคราะห์จากแนวคิดรายการ กลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เนื้อหาของรายการ ความยาวของรายการ รูปแบบรายการ

                              2. ถ่ายทอดจินตนาการเป็นบท นำเสนอแนวคิด เนื้อหาจากจินตนาการที่มีอยู่ออกมาเป็น
               ตัวอักษรให้ได้ ถ่ายทอดเป็นภาษาพูดและภาษาเสียงต่างๆ เช่น เสียงประกอบ เสียงดนตรี เป็นต้น


                              3. ดูแลให้คำแนะนำ บันทึกเทปหรือออกอากาศรายการจริง ผู้เขียนบทควรอยู่ด้วย เพอ
                                                                                                        ื่
               แนะนำในกรณีที่ผู้ดำเนินรายการหรือผู้ผลิตรายการเกิดความสงสัยในบท ผู้เขียนบทจะให้คำแนะนำได้ดีเพราะ

               รู้เรื่องบทดีที่สุด นอกจากนี้ผู้เขียนบทยังได้นั่งฟังบทของตัวเองและทำการประเมินบทของตนไปได้ด้วย เพอ
                                                                                                        ื่
               พัฒนาปรับปรุงบทให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป


                       4. ผู้กำกับรายการ (director) เป็นคนที่คอยดูแลขั้นตอนการผลิตรายการตั้งแต่ต้นจนจบตามบทที่
               เขียนไว้ ทำหน้าที่ควบคุมผู้ดำเนินรายการ ประสานงาน สั่งการ ควบคุมช่างเทคนิค ดูแลภาพรวมเกี่ยวกับการ
               ปฏิบัติในการผลิตรายการวิทยุทั้งหมด ผู้กำกับรายการมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้


                              1. ทำความเข้าใจและศึกษาบทอย่างละเอียด ตีความตามตัวอักษรที่ผู้เขียนบทได้ถ่ายทอด
               แนวคิดไว้ออกมาเป็นภาษาเสียงให้สมบูรณ์ที่สุด หากไม่แน่ใจสงสัยควรปรึกษาผู้เขียนบท เพื่อหาแนวทาง

               ปรับปรุงบทให้ทันก่อนวันนัดหมายในการออกอากาศ







                                                           30
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45