Page 100 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 100
85
โภชนาการที่ เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และวิธีการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นการพัฒนา
เด็กในช่วง 0-6 ปีแรก และยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนและพื้นที่ห่างไกลให้ได้มาตรฐาน
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเด็กก่อน วัยเรียน ให้มีพัฒนาการความพร้อมทั้งทักษะสมอง ร่างกาย และ
สังคม พัฒนาผู้อยู่ในช่วงวัยศึกษา โดยพัฒนาหลักสูตร ครูผู้สอน และการจัดการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอาชีพ
ผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดรองรับ
การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ สร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กจาก ครัวเรือนยากจนให้มีโอกาสทาง
การศึกษาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดที่มีปัญหาความยากจนในมิติการศึกษาสูงสุด
ตามข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics
Platform: TPMAP) อาทิ จังหวัดบึงกาฬ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และ กาฬสินธุ์
(ข้อมูล TPMAP ณ ปี 2565) พัฒนาวัยแรงงาน โดยส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้ใหม่เพื่อให้ตรง
ื่
ั
กับงานและอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไปรองรับการพฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ และการพัฒนาทักษะเดิมเพอ
เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน พัฒนาระบบสวัสดิการและความคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุม
แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ เสริมสร้างความรู้และทักษะทางการเงินเพื่อให้แรงงานมีความมั่นคง
ด้านรายได้และมีเงินออม เพียงพอสำหรับดำรงชีพตลอดชีวิต พร้อมทั้งพัฒนาผู้สูงอายุให้เป็นพลังของ
สังคม โดยพัฒนาให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาสู่คนรุ่นหลัง
ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำงานตาม ศักยภาพ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และ
ื้
ํ
พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอออานวยต่อการดำเนินชีวิตของ ผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ของคนทุกช่วงวัยและพัฒนาทางเลือกในการเข้าถึงการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเรียนในระบบ
การศึกษาปกติ
ตัวอย่างแผนงานสำคัญ
1. แผนงานเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้และทุ่งสัมฤทธิ์ให้ได้
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
1) สาระสำคัญ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร
ตลอดจน ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการผลิตและ
การแปรรูปข้าวหอมมะลิ คุณภาพสูงที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งยกระดับ
คุณภาพมาตรฐานและการยอมรับ ของผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการพัฒนา
ทั้งมาตรฐานข้าวหอมมะลิและผลิตภัณฑ์ กระบวนการตรวจรับรองที่มีความรวดเร็ว และการตรวจสอบ
ย้อนกลับที่เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงได้ อย่างกว้างขวางและไม่เป็นภาระต้นทุนการผลิต
---------------------------------------------------------------------------------