Page 44 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 44

29





                                      • เป้าหมายที่ 2 คนไทยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความถนัด
                     และความสามารถของพหุปัญญาดีขึ้น


                                      • การบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ
                                        สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ

                     จัดการ ศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่

                     โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบการศึกษา
                     นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ และส่งเสริม สนับสนุน

                     การพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

                     ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนการศึกษาทั้งในระดับสากลและ
                     ระดับประเทศมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ทั้งคะแนน PISA ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน

                     ด้านการศึกษา (IMD World Competitiveness Ranking) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
                                                                      ่
                     ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลการประเมินความสามารถด้านการอานของผู้เรียน (Reading Test) ผลการ
                     ทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test) และผลการทดสอบทาง
                     การศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้แบบ

                     พหุปัญญาผ่านการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของ

                     แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y2) ประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้ ข้อที่ 2.1 “คนไทยเป็นคนดี
                     คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21” และ 2.2 “สังคมไทยมีสภาพแวดล้อม

                     ที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต”

                               (1.2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ
                                   1.2.1) แผนย่อยที่ 3.1 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการ

                     เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

                                            • แนวทางการพัฒนา

                                         1) ปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการ (1) พัฒนา
                     กระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา ที่ใช้ฐานความรู้และระบบการคิด

                                                                                      ื้
                     ในลักษณะสหวิทยาการ มีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพนฐานที่เป็นหลักสูตร
                     ฐานสมรรถนะให้ได้มาตรฐานกับหลักสูตรในระบบการศึกษาชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในระดับ

                     นานาชาติอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับการนิเทศ

                     การติดตามประเมินผล และการปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะ (2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของ
                     ผู้เรียนทุกระดับการศึกษา รวมถึงจัดกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21

                     มีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับเนื้อหาและวิธีการสอน โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนทฤษฎีการเรียนรู้

                     แบบใหม่ในการพัฒนาเนื้อหาและทักษะแบบใหม่ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมี




                      ---------------------------------------------------------------------------------
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49