Page 59 - แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ.2566-2570
P. 59

44




                     สูง สามารถปฏิบัติงานและมีผลสัมฤทธิ์เทียบได้กับมาตรฐานระดับสากล นอกจากนี้ยังมีความเป็น

                     สำนักงานสมัยใหม่ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อวิเคราะห์คาดการณ์ล่วงหน้าและทำงานใน

                     เชิงรุก สามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างคุณค่าในการ
                     ทำงาน

                                            •  เป้าหมายของแผนย่อย  ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูงเทียบเท่า

                     มาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว

                                            •  การบรรลุเป้าหมายตามแผนย่อยของแผนแม่บทฯ
                                              สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยึดหลักการสร้างและพัฒนา

                     กลไกการบริหารจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้หน่วยงานมีระบบบริหาร

                     จัดการที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างสะดวก
                     รวดเร็ว จึงมีแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในระดับ

                     พื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานมีนวัตกรรมสำหรับใช้แกปัญหาด้านการจัดการศึกษาตามบริบทความต้องการ
                                                            ้
                     องพื้นที่ การบริหารจัดการการศึกษาในระดับภาคและกลุ่มจังหวัด การจัดทำนโยบายและจุดเน้นของ

                     กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัด ตาม พ.ร.บ.พื้นที่

                     นวัตกรรมการศึกษา การขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษา
                     จังหวัดโดยผ่านกลไก กศจ. การจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา การจัดตั้งศูนย์ข้อมูล

                     กลางกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Data Center) การพัฒนาแพลตฟอร์ม Big Data Ecosystem
                     เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนบริหารจัดการและติดตามประเมินผลด้านการศึกษาของประเทศ

                     ไทย และโครงการพัฒนาโครงสร้างและระบบงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและ

                     กระทรวงศึกษาธิการให้สามารถตอบสนองต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ซึ่งจะส่งผลต่อการ
                     บรรลุเป้าหมายระดับแผนย่อย (Y1) การพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐ “ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูง

                     เทียบเท่ามาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว”

                                      (5.2.3) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ (3.5) แผนย่อยการสร้างและพัฒนา
                     บุคลากรภาครัฐ

                                            •  แนวทางการพัฒนา

                                          1. ปรับปรุงกลไกในการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนในภาครัฐ
                     ให้มีมาตรฐานและเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กำลังคนภาครัฐมีความเหมาะสม

                     กับภารกิจของภาครัฐและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการ

                     พัฒนาระบบการบริหารกำลังคนให้มีความคล่องตัว ยึดระบบคุณธรรม เพิ่มความยืดหยุ่นคล่องตัวให้กับ
                     หน่วยงานภาครัฐในการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกขั้นตอนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพ

                     และคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกการวางแผนกำลังคน รูปแบบการ





                      ---------------------------------------------------------------------------------
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64