Page 151 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 151
บทที่ ๑
บทนำ
๑. ที่มาและความสำคัญ
“ลับแล” เป็นที่รู้จักในนิทานโดยทั่วไปคือเรื่องแม่หม้าย แต่ในบริบททางประวัติศาสตร์และโบราณคด ี
ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ประชากรในพื้นที่แอ่งวัฒนธรรมเมืองลับแลเป็นชาวยวน (โยนก) หรือ ไทเหนือ
กลุ่มหนึ่งที่นับว่ามีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง
ี่
ิ
การศึกษาประวัตศาสตร์เมืองลับแล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดตถ์ เป็นพื้นที่เมืองหนึ่งทยังไม่มีความ
ิ
ั
ชัดเจนทางด้านวิชาการ ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จากวรรณกรรมทั้ง ๒ เรื่อง คือ (๑) ตำนานเมืองลบ
แล ฉบับพระครูสิมพลีคณานุยุต และ (๒) ตำนานพระเจ้ายอดคำทิพย์ วัดลับแลงหลวง ที่ได้กล่าวถึงที่มาของ
เมืองลับแลไว้อย่างน่าสนใจทั้งสองสำนวน ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในข้อเท็จจริงของข้อมูลและที่มาของ
ุ
หลักฐานทั้งสองทำให้ประวัติศาสตร์เมืองลับแลมีความคลมเครือทางวิชาการ ทำให้เกิดข้อถกเถียงทางวิชาการ
ที่กล่าวถึงเรื่องราวในเอกสารวรรณกรรมทั้งสองสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมือง คติ ความเชื่อต่างๆ
ในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับแลจากเอกสารตำนานท้องถิ่น ทั้ง ๒ ฉบับนี้ จึงเป็นการวิพากษ์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมท้องถิ่นที่มีผลต่อ
ความเชื่อของที่มาของเมืองลับแล และเพื่อศึกษาบริบทความเป็นมาและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมือง
ลับแล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของท้องถิ่นต่อไป
๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมท้องถิ่นทั้ง ๒ ฉบับที่มีผลต่อความเชื่อของที่มาของ
เมืองลับแล
๒. เพื่อศึกษาบริบทความเป็นมาและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองลับแล
๓. ขอบเขตการศึกษา
๓.๑ ขอบเขตกายภาพ
ั
ิ
ศึกษาพื้นที่เมืองโบราณลบแล ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดตถ์
การวิเคราะห์วรรณกรรมเมืองลับแล
หน้า ๑