Page 638 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 638
ด่านของเมืองลับแล
เมืองลับแล หรือเมืองลับแลง มีบทบาทที่สำคัญยิ่งคือเป็นเมืองหน้าด่านของรัฐสุโขทัย-สยาม มาแต่ครั้ง
ี่
เมื่ออดีต หลักฐานเชิงประจักษ์ทยังคงหลงเหลือให้เห็นคือ แนวกำแพงอิฐที่บริเวณบ้านชายเขาบก ตำบลนานกกก
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และแนวคันดินสามชั้นบริเวณวัดจอมคีรี บ้านชายเขาใต้ ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง
จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ของอำเภอลับแล
โบราณสถานทั้งสองที่พบ เป็นด่านขนาดใหญ่ของเมืองลับแลก่อนที่จะเข้าสตัวท้องเมือง นอกเหนือไปจาก
ู่
ด่านที่แสดงอาณาเขตของเมืองลับแลทั้งหมดตามแนวสันเขาซึ่งแบ่ง ระหว่าง ล้านนา และรัฐสุโขทัย-สยาม
ภาพแสดงด่านประเภทต่าง ๆ ของเมืองลับแลเพื่อประกอบความเข้าใจอย่างง่าย
่
ั
ั
เป็นที่น่าสังเกตว่าชุมชนที่อยู่บริเวณพื้นที่ดานของเมืองลับแลนั้น มักมีการขยายตวยกระดบจนกลายเป็น
ชุมชนขนาดใหญ่เช่น ชุมชนชาวด่าน“ลับแลน้อย” บางครั้งเรียก “ลับแลงน้อย” ซึ่งหมายถึงพื้นที่บริเวณตำบลนาน
กกก ตำบลน้ำริด และตำบลด่านนาขาม ในปัจจุบัน บางพื้นที่ยกระดับกลายเป็นเมืองเช่น “เมืองด่านนางพูล”
หรือตำบลแม่พูลในปัจจุบัน ทั้งนี้ปัจจัยที่สงเสริมการยกระดับของชมชนเหล่านี้อาจเพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคญ
ั
่
ุ
ด่านของเมืองลับแล
หน้า ๑