Page 729 - หนังสือเมืองลับแล(ง)
P. 729
บทที่ ๑
บทนำ
๑. ที่มาและความสำคัญของการศกษา
ึ
ท้องถิ่นทุกแห่งในโลกล้วนมีประวัติศาสตร์ภูมิหลังทุกที่ อยู่ที่ว่าคนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่นั้นจะมีความสนใจ
ั
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่นตนเองหรือไม่ การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนั้นมีความสำคญ
มากในเชิงการเรียนรู้ เมื่อผู้คนในท้องถิ่นนั้นรู้ภูมิหลังของตนเองจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน
การศึกษาในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทยของโรงเรียนในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ส่วนกลางซึ่ง
ประวัติศาสตร์ของชนชั้นปกครอง แทบจะไม่มีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ตำบลแม่พูลมีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่มาก ทั้งยังเป็นแหล่งปลูกทุเรียน ลางสาด ลองกอง
ผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของชาวอุตรดิตถ์อีกด้วย ในช่วงวัยเด็กข้าพเจ้ามักจะสงสัยเกี่ยวกับชื่อบ้านนามเมืองของ
ตนเอง จึงสอบถามความเป็นมากับแม่ขา (ยาย) ของข้าพเจ้า ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่ท่านพอทราบ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้าไดทำวิจัยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ ๔ ได้พบกับดาบฟ้า ไชยลับแลง,
้
ภัทรภูมินทร์ ชัยชมภู, ฉัตรชัย แว่นตา คณะกรรมการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองลับแล (เมืองลับแลง) ซึ่งขณะนั้นยัง
ิ
้
ไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเมืองดานนางพูน ซึ่งอาจารย์สมชาย เดือนเพ็ญ ผู้เชี่ยวชาญดานประวัตศาสตร์ไดถ่ายทอด
่
้
องค์ความรู้และจุดประกายเรื่องเมืองด่านนางพูน สันนิษฐานว่าเป็นตำบลแม่พูลในปัจจุบัน ข้าพเจ้าจึงเริ่มทำการ
สืบค้นจากเอกสารชั้นต้น ได้แก่ ราชกิจจานุเบกษา สมุดไทยดำวัดคุ้งตะเภา จดหมายเหตุราชกิจรายวันในสมัยรัช
การที่ ๕ หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ประวัติเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เป็นต้น
๒. สมมติฐานการศกษา
ึ
ตำบลแม่พูล และพื้นทเทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ คือเมืองด่านนางพูนแต่เดิม เป็น
ี่
พื้นที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นเมืองที่มีความสำคัญของประเทศไทย
เมืองด่านนางพูน
หน้า ๑