Page 2 - บทที่14 กระแสไฟฟ้า
P. 2

2


               14.2 ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์

                       14.2.1 กฎของโอหมและความต้านทาน
                                       ์
                              เมื่อต่อปลายของลวดนิโครมซึ่งเป็นลวดโลหะผสมระหว่างนิกเกิลและโครเมียมกับแหล่งกำเนิด

                       ไฟฟ้าจะมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดนิโครม กระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดนิโครมแปรผันตรงกับความต่างศกย์
                                                                                                    ั
                       ระหว่างปลายของลวดนิโครมจึงเขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้
                                                           I ∝ V

                                                           V
                                            จะได้            = R
                                                           I
                       ค่าคงตัว R นี้เรียกว่าความต้านทาน มีหน่วยเป็นโวลต์ต่อแอมแปร์ (V/A) หรือโอห์ม (Ω)

                       กฎของโอห์ม มีใจความว่า ถ้าอุณหภูมิคงตัว กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำจะแปรผันตรงกับความต่างศักย์

                       ระหว่างปลายของลวดตัวนำนั้น

                       ตัวต้านทาน

                              ตัวต้านทานมักทำมาจากผงคาร์บอนอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอกเล็ก ๆ  ตัวต้านทานแบบนี้มี

                       ความต้านทานคงตัวหลายขนาด เรียกว่าตัวต้านทานค่าคงตัว โดยอ่านค่าความต้านทานจะอ่านได้จาก
                       แทบสีบนตัวต้านทานตามรหัสสีในตาราง
















                              แอลดีอาร์ เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นกับความสว่างของแสงที่ตกกระทบ แอลดีอาร์ มี

                              ความต้านทานสูงในที่มืด แต่มีความต้านทานต่ำในที่สว่าง จึงเป็นตัวรับรู้ความสว่างในวงจร
   1   2   3   4   5   6   7