Page 3 - ใบความรู้บัญชีครัวเรือน
P. 3
ตอนที่ 2
หลักการ แนวคิด การทำบัญชีชาวบ้าน
หลักการการทำบัญชีชาวบ้าน การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ต้องไป
ร่ำเรียนวิชาบัญชีที่ไหนก็ทำได้ ทั้งยังมี ประโยชน์มากมายอย่างคาดไม่ถึง เพราะตัวเลขทุกตัวถ้า
้
พิจารณาในรายละเอียดของที่มาที่ไปแล้ว สามารถ นําไปใชในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เริ่ม
ตั้งแต่รายรับที่บันทึกว่าได้มาจากไหน อย่างไร เท่าไหร่ ชวนให้ คิดต่อว่าจะรักษาสถานะเดิมไว้
ได้อย่างไร เช่น มีอาชีพรับจ้างก็ต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้นายจ้างพอใจ เพื่อ ไม่ให้เลิกจ้างหรือให้
เพิ่มค่าจ้าง ถ้าเห็นว่ารายรับน้อยก็ใช้ตัวเลขนี้เป็นแรงผลักดันให้แสวงหาช่องทาง หรือวิธีที่ จะทำ
่
ให้เพิ่มพูนขึ้น เช่น หลักเลิกงานประจำแล้วไปทำงานอื่นต่อ ในส่วนของรายจ่ายที่บันทึกว่าจ่ายคา
อะไร เพื่ออะไร เมื่อใด เป็นเงินเท่าไหร่ เมื่อทบทวนดูจะทำให้เห็นว่ารายการใดจําเป็น สินค้าใด
ถูก สินค้าใดแพง คุ้มค่า ไม่คุ้มค่า ทำให้เกิดสติ นําไปสู่การยับยั้งชั่งใจก่อนตัดสินใจใช้เงินครั้ง
ต่อๆไป หรืออย่างน้อยที่สุดไม่คิด อะไรมาก แค่เอารายจ่ายไปลบออกจากรายรับ ถ้าเห็นเหลือ
น้อยจะทำให้ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น มิ แผนการใช้เงินที่พอเหมาะจนทำให้เงินสดไม่ขาด
มือ ถ้ามองในเชิงธุรกิจ บัญชีตามที่กล่าวถึงในย่อหน้าข้างบนก็คือบัญชี “กําไรขาดทุน” นั่นเอง
เป็น บัญชีที่โดยหลักการแล้วบันทึกข้อมูลสำคัญสามรายการ คือ บรรทัดแรกบันทึกรายรับ ตาม
ด้วยรายจ่ายใน บรรทัดที่สอง และบรรทัดสุดท้าย(Bottom line) เป็นผลต่างระหว่างรายรับ
รายจ่าย ถ้าเป็นบวกแสดงว่ามี กําไร ถ้าเป็นลบก็ขาดทุน
ตัวอย่างการทำบัญชีครัวเรือน
แม้จะมีเพียงสามบรรทัด แต่เรื่องราว หรือกระบวนการที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดนั้นมีมากมาย
เหลือเกิน เริ่ม ตั้งแต่บรรทัดแรก (รายรับ) ที่เกิดจากลูกค้านําเงินมาให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้า
ซึ่งรังสรรค์ขึ้นโดยฝ่ายผลิต และนําเสนอโดยฝ่ายขาย บรรทัดนี้จึงมีเรื่องของฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย
และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำให้ ลูกค้ามีความพึงพอใจซื้อสินค้า ซื้อแล้วกลับมาซื้ออีก (ซื้อ
ซ้ำ) ซื้อเพิ่ม ทั้งสินค้าเดิม และสินค้าใหม่ รวมถึง ช่วยหาลูกค้าใหม่ด้วยการบอกต่อ บรรทัดที่สอง
(รายจ่าย) ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่าย