Page 119 - คู่มือการฝึก
P. 119
116
หัวข้อที่ 8 การตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัด ความหมาย ความสําคัญ หลักพื้นฐาน ข้อควรระวัง และ ยุทธวิธีในการตั้งจุดตรวจ
1. รายละเอียดของการฝึก
1. การตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด
1.1 จุดตรวจหมายถึงสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ตํารวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นเพื่อจับกุมผู้กระทํา ผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวงในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกําหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจําเป็น อย่างยิ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วต้องยุบเลิกจุดตรวจ ดังกล่าวทันที 1.2 จุดสกัดหมายถึงสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ตํารวจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นจับกุมผู้กระทํา ผิดในเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง ในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือจําเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว และ จะต้อง ยุบเลิกเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าว
2. ความสําคัญของการตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัด
- เพื่อตรวจค้นบุคคลหรือยานพาหนะที่ผ่านเข้าออกพื้นที่
- เพื่อเป็นการบีบบังคับไม่ให้คนร้ายมีโอกาสหลบหนีออกนอกพื้นที่ที่ปิดล้อม
- เพื่อตรวจค้นอาวุธเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทําผิด
- เพื่อค้นหาสิ่งของผิดกฎหมายในยานพาหนะต้องสงสัย
- เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดและตัดช่องโอกาสในการประกอบ
อาชญากรรมของคนร้าย
3. หลักพื้นฐานในการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด
- ใช้เมื่อมีกรณีเหตุจําเป็นหรือเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน
- ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบคําสั่งโดยเคร่งครัด
- ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา
- มีนายตํารวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้าควบคุม
- แต่งเครื่องแบบตํารวจในการปฏิบัติหน้าที่
- มีแผงกั้นแสดงเครื่องหมายคําว่า“หยุดตรวจ”และจัดให้มีสิ่งกีดขวางหรือสัญญาณอื่นใด
เป็นที่สังเกตได้ง่ายจากระยะไกล เช่น กรวยยางคาดแถบสะท้อนแสง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
- ในเวลากลางคืนต้องมีไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า150เมตรก่อน
ถึง จุดตรวจ
- กําหนด“เขตพื้นที่ปลอดภัย”ไว้สําหรับตรวจค้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน