Page 538 - คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ถอดบทเรียนงานประชุมวิชาการ
P. 538

B4-108-109
19th HA National Forum
  ผศ.นพ.ทนันชัย บุญบูรพงศ์
วิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการบาบัดระบบหายใจและการใช้เครื่องช่วยหายใจ จากประสบการณ์การทางาน พบความผิดปกติของเคร่ืองมือ แพทย์ขณะใช้งานกับผู้ป่วยโดยท่ีแพทย์และพยาบาลผู้ดูแลไม่รู้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไม่มีความรู้ ใช้งานเคร่ืองมือไม่เป็น และบารุงรักษาไม่ดี ผู้ท่ีจะมา ช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ เหล่านี้จากแพทย์และพยาบาลได้ คือ วิศวกรคลินิก อยากฟังความเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับบทบาทของวิศวกรคลินิกในการ ร่วมดูแลเครื่องมือแพทย์ในทางคลินิก
วิศวกรคลินิกมีบทบาทในการดูแลเครื่องมือแพทย์ทางคลินิกดังต่อไปน้ี 1. การจัดหา โดยให้ข้อมูลเก่ียวกับคุณสมบัติในแง่วิศวกรรม
2. การบารุงรักษา ดูแลให้พร้อมใช้งานได้ และให้สามารถใช้ได้ทนนาน 3. การดูแลความปลอดภัยทางไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อม
4. การใช้งานทางคลินิก ได้แก่ ใช้และควบคุมเคร่ืองมือแพทย์ท่ีซับซ้อน ดูแลให้มีการใช้งานเคร่ืองมือแพทย์ท่ีถูกต้อง เฝ้าติดตามการทางาน ของเครื่องขณะใช้เพื่อค้นพบความผิดปกติตั้งแต่แรก แก้ปัญหาท่ีเกิดขึ้นขณะใช้งานกับผู้ป่วยซึ่งอาจไม่สามารถรอส่งซ่อมในวันรุ่งขึ้นได้
5. อบรมให้ความรู้แพทย์พยาบาลเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
6. ศึกษาวิจัยทางคลินิกเพ่ือพัฒนาเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ยุคใหม่จาเป็นต้องมีวิศวกรคลินิกในการควบคุมเคร่ืองมือแพทย์น้ันให้ใช้งานได้และใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และ
ปลอดภัยต่อท้ังผู้ป่วย ผู้ใช้ และผู้คนรอบข้าง เช่น การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ เทคโนโลยีทางรังสีขั้นสูง เครื่องไตเทียม เครื่องช่วยหายใจท่ีซับซ้อน อุปกรณ์ ตรวจรักษาข้ันสูงทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยรายท่ี 1 พยาบาลเตรียมเคร่ืองช่วยหายใจ Bird Mark 7 ต่อเข้ากับท่อก๊าซแล้วเครื่องจ่ายก๊าซน้อยมาก ไม่สามารถช่วยหายใจได้ แพทย์ตั้งเครื่องไม่ได้ ต้องใช้มือบีบช่วยแทน สาเหตุเพราะพยาบาลหยิบวาล์วลดความดันผิด โดยหยิบ flowmeter แบบหัวนาฬิกามาต่อแทน ทาให้ ความดันก๊าซไม่พอดันเครื่อง
ผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ non-invasive โดยเติมออกซิเจน 4 ลิตร/นาที แพทย์สั่งให้วัดความเข้มข้นของออกซิเจน ในก๊าซท่ีผู้ป่วยหายใจอยู่ (FIO2) พยาบาลตามเจ้าหน้าที่เครื่องมือแพทย์ให้มาวัด เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเครื่องวัดมีอยู่เพียงเคร่ืองเดียวในประเทศไทยคือที่ โรงพยาบาลน้ีเท่าน้ัน แต่ขณะนี้ส่งไปสอบเทียบที่ต่างประเทศ ความจริงคืออุปกรณ์วัดหาซื้อได้ท่ัวไปในประเทศ เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้จึงหาข้อแก้ตัว พยาบาลไม่มีความรู้จึงถูกเจ้าหน้าท่ีเคร่ืองมือแพทย์หลอก
ผู้ป่วยรายที่ 3 และ รายท่ี 4 ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ แต่แพทย์และพยาบาล ไม่รู้ว่าอัตราการไหลของก๊าซ (flow) ที่เครื่องกาลังจ่าย ให้ผู้ป่วยอยู่ น้อยกว่าที่ผู้ป่วยกาลังหายใจอยู่ เหมือนกาลังบีบจมูกผู้ป่วย ไม่มีก๊าซให้หายใจ เพราะไม่รู้ว่าจะติดตามดูจากหลักฐานอะไร ท้ังๆ ที่หลัก ฐานปรากฏอยู่บนจอมอร์นิเตอร์ของเคร่ืองช่วยหายใจน้ันเอง
ผู้ป่วยรายที่ 5 เครื่องช่วยหายใจไม่รับรู้การกระตุ้นจากผู้ป่วย และเมื่อเครื่องรับรู้การกระตุ้นจากผู้ป่วยก็จ่ายก๊าซให้ไม่พอกับท่ีผู้ป่วยกาลัง
หายใจ
ผู้ป่วยรายท่ี 6 ก๊าซยังออกจากปอดได้ไม่หมด เครื่องก็เร่ิมจ่ายลมหายใจถัดไปแล้ว
ผู้ป่วยรายท่ี 7 หน้าจอมอร์นิโตของเคร่ืองแสดงว่ามีการรั่วของก๊าซในระบบ แต่พยาบาลไม่ทราบเพราะอ่านรูปกราฟไม่เป็น
ผู้ป่วยรายที่ 8 เครื่องช่วยหายใจใช้อยู่กับผู้ป่วย อยู่ดีๆ เคร่ืองดับไปเฉยๆ สาเหตุเพราะแบตเตอรี่หมด สาเหตุท่ีแท้จริงคือไม่มีการบารุง
รักษาที่ดีพอ ใช้จนแบตเตอรี่หมดไม่สามารถเก็บไฟได้เลย
ผปู้ ว่ ยรายที่ 9 พยาบาลสง่ ผปู้ ว่ ยทไ่ี ดร้ บั ออกซเิ จนอยไู่ ปรบั การตรวจทางรงั สี หรอื สง่ ตอ่ ไปรกั ษาทหี่ อผปู้ ว่ ยอนื่ หรอื โรงพยาบาลอนื่ ระหวา่ ง
เดินทางท่อก๊าซออกซิเจนหมด ทาให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนระหว่างทาง สาเหตุเพราะพยาบาลไม่ทราบว่าก๊าซในท่อก๊าซท่ีนาไปด้วย เหลืออยู่ประมาณ กี่ลิตร และจะเพียงพอให้ใช้ตลอดระยะเวลาเดินทางได้หรือไม่
กรณีตัวอย่างอ่ืนๆ ได้แก่ ค่าปริมาตรก๊าซหายใจที่วัดได้ผิดปกติเพราะ flow sensor ไมได้รับการสอบเทียบ ต่อวงจรเคร่ืองช่วยหายใจผิด ทาให้เกิดการอุดตัน นาเครื่องทาความชื้นซึ่งผลิตไว้สาหรับเครื่องช่วยหายใจแบบ noninvasive ไปใช้ในเคร่ืองช่วยหายใจแบบ invasive ทาให้ได้ ความช้ืนไมพ่อตลอดจนการท่ีแพทยแ์ละพยาบาลอ่านgraphicsmonitorไม่เป็นทาใหไ้มส่ามารถวินจิฉัยความผิดปกตติ่างๆของการชว่ยหายใจได้
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)   538












































































   536   537   538   539   540