Page 2 - บท16 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
P. 2
16.3 สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ต่างๆ มากมายและเป็นความถี่ต่อเนื่องกันเป็นช่วงกว้าง เหล่านี้เรียกรวมกันว่า
สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีชื่อเรียกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดและวิธีตรวจวัดคลื่นนั้น
แม้มีแหล่งกำเนิดและวิธีตรวจวัดที่แตกต่างกัน แต่ทุกคลื่นก็มีสมบัติที่สำคัญเหมือนกัน คือ เคลื่อนที่ไปใน
8
สุญญากาศด้วยความเร็วแสงเท่ากับ 3×10 เมตรต่อวินาที และมีการส่งผ่านพลังงานไปพร้อมกับคลื่น
รูป 16.3 สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
16.4 โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เมื่อส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไป ถ้าสนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงทิศทางกลับไปกลับมาในระนาบเดียว จะ
กล่าวได้ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เป็นคลื่นโพลาไรส์ (polarized wave)
16.4.1 โพลาไรเซชันของแสง
แหล่งกำเนิดคลื่นแสงโดยทั่วไป เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (คลื่น
แสง) โดยสนามไฟฟ้าของแสงที่ส่งออกมามีทิศทางต่าง ๆ กันมากมาย ดังนั้นแสงจากแหล่งกำเนิดแสงจึง
เป็นแสงไม่โพลาไรส์ โดยใช้หลักการรวมเวกเตอร์สามารถรวมแสงไม่โพลาไรส์ให้เป็นแสงโพลาไรส์ใน
สองทิศทางในแนวแกนที่ตั้งฉากกันได้
เมื่อแสงผ่านแผ่นโพลารอยด์ แสงที่สนามไฟฟ้ามีทิศทางขนานกับทิศของโพลาไรส์สามารถผ่าน
แผ่นโพลารอยด์ได้ ส่วนแสงที่สนามไฟฟ้ามีทิศทางตั้งฉากกับทิศของโพลาไรส์จะถูกแผ่นโพลารอยด์
ดูดกลืน