Page 34 - Canva_Flat
P. 34
ุ
ื้
ั
ิ
ิ
ิ
พนฐานธรกจดจทล 30
6.2 รูปแบบธุรกิจ เป็นการสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมแนวคิด 4 มิติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดเพื่อให้หน่วย
งาน บริษัท หรือองค์กร ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งประกอบด้วย
การกําหนดกลุ่มลูกค้า (Customer segments) เป็นการกําหนดคนหรือองค์กรที่จะเข้าถึง
การเสนอคุณค่า (Value propositions) ต้องเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สร้างพัฒนาแก้ปัญหาสําหรับกลุ่ม
ลูกค้าหรือตอบสนองความต้องการและคุณค่า
ช่องทางการจัดจําหน่าย (Channels) เป็นช่องทางการขายที่ หน่วยงาน บริษัท หรือองค์กรสามารถเข้าถึงและ
ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเพื่อถ่ายทอดคุณค่าที่นําเสนอ
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer relations) เป็นการแสดงให้เห็นถึงคาวมแตกต่างของหน่วยงาน
บริษัท หรือองค์กร กับลูกค้า ซึ่งหมายรวมไปถึงการได้มาซึ่งลูกค้า การดูแลลูกค้า การส่งเสริมการขายส่วนบุคคล
หรือแบบอัตโนมัติ
การกําหนดแหล่งที่มาของรายได้(Sources of income) เพราะรายได้ของหน่วยงาน บริษัท หรือองค์กร มา
จากกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ดังนั้นจึงจําเป็นจะต้องระบุแหล่งที่มาของรายได้ให้ชัดเจน
ทรัพยากรที่สําคัญ (Key resources) เป็นพื้นฐานที่จําเป็นในการดําเนินงานรูปแบบธุรกิจ ซึ่ง อาจหมายร่วม
ถึงสติปัญญาของพนักงานที่ท างานของหน่วยงาน บริษัท หรือองค์กร และฐานะทางการเงินด้วย
กิจกรรมหลัก (Key Activities) เป็นกุญแจที่สําคัญในกระบวนการของแบบจําลองธุรกิจหลักซึ่ง ต้องคํานึงถง
ึ
ทรัพยากรที่สําคัญด้วย
พันธมิตรที่สําคัญ (Key partnerships) เป็นหลักที่สําคัญของรูปแบบธุรกิจ มักเกี่ยวข้องกับ หลายภาคส่วน
เช่น ผู้ผลิตสินค้า พันธมิตรทางธุรกิจ หุ้นส่วน และพันธมิตรการร่วมค้า เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุน (Cost structure) สําคัญที่สุดของเพราะต้นทุนเป็นสิ่งจําเป็นที่เกิดขึ้นในโมเดลธุรกิจใน
ทุก ๆ หน่วยงาน บริษัท หรือองค์กร ต้องมีการกําหนด โครงสร้างต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน
7 กระบวนการสร้างนวัตกรรมธรุกิจดิจิทัล
กระบวนการสร้างนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล หน่วยงาน บริษัท หรือองค์กรสามารถกําหนดทิศทางเพื่อ แสดงขั้นตอนการ
ทํางานพัฒนานวัตกรรมขึ้นใหม่ได้5 ขั้นตอน
7.1 การรับรู้ถึงโอกาส เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลและเอกสาร แนวคิดหลักการกําหนดปัญหาทํา การ
สํารวจว่า มีสิ่งที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพียงใด หรือมีใครที่เคยพัฒนาขึ้นมาก่อนหรือไม่มี ถ้า
ถ้าพบปัญหาหรือข้อบกพร่องของสี่งนั้นหรือไม่ บางครั้งอาจทําได้โดย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหา
แนวคิดหลักการจากผู้พัฒนาอยู่ก่อนหน้า รวมถึงศึกษาจากเอกสารงานหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ามา วิเคราะห์หา
โอกาสและความเป็นไปได้ตามแนวคิดของต้นเอง
7.2 การพัฒนาแนวคิด เป็นการเลือกกรอบแนวคิดที่ได้จากการรับรู้ถึงโอกาส โดยวางแผนเพื่อการพัฒนา
แนวคิด โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของนวัตกรรม เช่น การเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการและ ความจําเป็น การ
เรียนรู้เพื่อสร้างสิ่งที่ให้ความน่าเชื่อถือ การเรียนรู้เพื่อหาวิธีการแก้ปญั หาและพฒั นาต่อยอดได้ เป็นต้น ดังนั้น
การมีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ได้จริงใช้ง่ายสะดวกต่อการใชแ้ละกา
รพฒันาต่อไป และมีผลการพิสูจน์ว่าใชไ้ดใ้นสถานการณ์จรงิสามารถแก้ปัญหาได้อย่างน่าพอใจ
7.3 การพัฒนาต้นแบบ เป็นการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมเพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สร้างมานั้น สามารถ
นํามาใช้ได้ผลตามแนวคิดที่ต้องการหรือไม่ซึ่งมีการทําได้หลายวิธี เช่น การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ การบรรยาย
คุณภาพ การค้นหาประสิทธิภาพ และการประเมินผลนวัตกรรม เป็นต้น
7.4 การแก้ไขปัญหา เป็นการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้สามารถนํามาใช้ในการแก้ไขปัญหา
ที่มีโดยสามารสร้างและดําเนินการตามขั้นตอน เช่น วิเคราะห์จุดประสงค์กําหนดและออกแบบลงมือทําตรวจสอบ
คุณภาพ ทดลองใชร้ะยะสนั้ เพื่อปรบัปรุง และนําไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรอืการพัฒนาการเรยีนรู้ เป็นต้น
7.5 การแก้ไขจุดบกพร่อง เป็นการปรับปรุงนวัตกรรมที่สร้างขั้น โดยนําข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุง
นวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนําไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น พร้อมทั้งหาค่าประสิทธิภาพโดยการให้ผู้
เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ และบรรยายคุณภาพที่ได้ ก่อนการทดลองนําไปใช้โดยนําไปทดลองใช้กับลูกค้ากลุ่มย่อยๆ
ก่อน เพื่อจะนําผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อจะทําได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นรายละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรม ต่อไป