Page 6 - ใบความรู้ หน่วยที่ 6
P. 6
3.2.1 ก้านดอกสว่าน ( Shank) เป็นส่วนที่จับยึดกับหัวจับดอกสว่านรับกำลังหมุนจากเพลา
3.2.2 ลำตัว (body) เป็นส่วนที่ใช้งานลักษณะเป็นเกลียวขวา มีร่องคายเศษ และสันคมตัด
3.2.3 สันคมตัด ทำหน้าที่ขูดผิวงานให้เรียบขณะเจาะงาน
3.2.4 ร่องคายเศษ ทำหน้าที่คายเศษของชิ้นงานขณะเจาะ
3.2.5 คมตัดสว่าน (Lip) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของดอกสว่าน คมทั้งสองจะพบกันที่จุด ศูนย์กลางใน
มุมตัด ทำหน้าที่ในการตัดเฉือนวัสดุ
3.2.6 แกนกลางของดอกสว่าน (Web) เป็นเนื้อโลหะตรงกลางของดอกสว่านที่เกิดขึ้นจากการทำร่อง
เกลียว ทั้งสองข้าง เมื่อเจียระไนคมตัดของดอกสว่านจะเกิดคมกว้างขึ้น
3.2.7 มุมจิก (Point) เป็นส่วนนำเจาะ ประกอบด้วยหน้าคมตัด ผิวฟรี และคมขวางหน้าคมตัดทำ
หน้าที่ตัดเฉือนเศษวัสดุ โดยทั่วไปมุมจิกจะมีมุม 118 องศา
ประเภทวัสดุ มุมจิก คมเลื้อย
ุ
วัสดุธรรมดา 50-60 องศา คมเลื้อยชันมาก ทำมมกับ
วัสดุอัดเป็นชั้น 80-90 องศา แกน 10-16 องศา
ยางแข็ง 30 องศา
ทองเหลือง 130 องศา
อะลูมิเนียม 140 องศา คมเลื้อยเอนมาก ทำมมกับ
ุ
แมกนีเซียมผสมไฟเบอร์ 100 องศา แกน 30- 40 องศา เศษ
ทองแดง 116 – 125 องศา ไหลออกสะดวก
เหล็กทั่วไป 118 องศา คมเลื้อยทั่วไป ทำมุมกับ
เหล็กหล่อ 116 องศา แกน
เหล็กเหนียว 116 องศา 25 -30 องศา
ตารางที่ 6.1 แสดงมุมจิกและคมเลื้อยของดอกสว่าน
4. เครื่องมอและอุปกรณ์ในการเจาะงาน ในการปฏิบัติงานเจาะจำเป็นต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยใน
ื
การเจาะให้ตรงตามตำแหน่งที่กำหนดไว้โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.1 หัวจับดอกสว่าน เป็นอุปกรณ์รับกำลังที่ส่งมาจากแกนเพลา มีหน้าที่ในการจับยึดดอกสว่านก้านตรง
โดยมีลักษณะเป็น 3 ปากเคลื่อนที่พร้อมกัน โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ แบบใช้จำปาขัน และแบบขันจับด้วยมือ
รูปที่ 6.4 แสดงลักษณะหัวจับดอกสว่านแบบขันด้วยจำปา