Page 5 - ใบความรู้หน่วยที่ 4
P. 5
3.2.1.2 สเกลเลื่อน เป็นขีดสเกลที่อยู่ติดกับปากเลื่อน โดยสเกลแบ่งช่องตามความละเอียดของ
เวอร์เนียร์แต่ละชนิด
3.2.1.3 ปากวัดนอก ใช้สำหรับวัดขนาดทั่วไป เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
ความยาว ความกว้าง ความหนาของชิ้นงาน
3.2.1.4 ปากวัดใน ใช้สำหรับวัดขนาดภายในของชิ้นงาน เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน
ความยาว ความกว้าง ความหนาภายในของชิ้นงาน
3.2.1.5 ก้านวัดลึก ใช้สำหรับวัดวัดขนาดความลึกของบ่าหรือความลึกของชิ้นงาน
ื่
3.2.1.6 สกรูล็อกตำแหน่ง เป็นสกรูเพอล็อกตำแหน่งเมื่อวัดขนาดชิ้นงานที่ต้องการแล้ว
3.2.2 การอ่านค่าเวอร์เนียคาลิปเปอร์ค่าความละเอียด 1/20 ม.ม.
การแบ่งสเกล บนสเกลหลัก ใน 1 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 10 ช่อง ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ
0.05 มิลลิเมตร หรือ 20 ช่องบนสเกลเลื่อนมีค่า = 19 มม. ดังนั้น 1 ช่องบนสเกลเลื่อนจะมีค่า =
19/20 = 0.95 มม. จึงอ่านได้ค่าละเอียด = 1.00 – 0.95 = 0.05 มม.
ตัวอย่างที่ 1
หลักการอ่านเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ให้สังเกตตำแหน่งเลข 0 ที่สเกลเลื่อนตามตัวอย่างรูปที่ 4.4
ี
สเกลหลักจะมค่าเท่ากับ 29 มม. จากนั้นสังเกตดูว่าขีดของสเกลเลื่อนและขีดของสเกลหลักขีดใดตรงกัน
แล้วอ่านค่าที่สเกลเลื่อนตามตำแหน่งที่ตรงกัน จากรูป 4.4 สเกลเลื่อนมีค่า 0.45 มม. นำค่าของสเกลหลักและ
สเกลเลื่อนมารวมกันจะได้ค่าที่ได้จากการวัด
รูปที่ 4.4 แสดงการอ่านค่าเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์1/20 มม.
การอ่านค่า
1. อ่านค่าวัดจากสเกลหลัก มีค่า = 29 มม.
2. อ่านค่าวัดละเอียดหลักจากสเกลเลื่อน มีค่า = 0.4 มม.
3. อ่านค่าวัดละเอยดย่อยจากสเกลเลื่อน มีค่า = 0.05 มม.
ี
4. นำมารวมกัน (29 + 0.4 + 0.05) มีค่า = 29.45 มม.
ตัวอย่างที่ 2
หลักการอ่านเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ให้สังเกตตำแหน่งเลข 0 ที่สเกลเลื่อนตามตัวอย่างรูปที่ 4. 5
ี
สเกลหลักจะมค่าเท่ากับ 12 มม. จากนั้นสังเกตดูว่าขีดของสเกลเลื่อนและขีดของสเกลหลักขีดใดตรงกัน
แล้วอ่านค่าที่สเกลเลื่อนตามตำแหน่งที่ตรงกัน จากรูป 4.54 สเกลเลื่อนมีค่า 0.35 มม. นำค่าของสเกลหลัก
ี่
และสเกลเลื่อนมารวมกันจะได้ค่าทได้จากการวัด