Page 5 - วรรณกรรมมัธยม
P. 5

นครรังสิตจำกอดีต สู่ ปัจจุบัน


                                    นครรังสิต เป็นชื่อที่หลายๆ  คนในท้องที่ยังไม่คุ้นกันนักแต่ถ้าพูดถึงคลองรังสิต  ก็จะเป็นที่

                  รู้จักและเข้าใจกันว่าเป็นสถานที่ที่มีอาณาเขตเชื่อมต่อจากกรุงเทพมหานครเป็นประตูสู่ภาคเหนือ  และ
                  ภาคอีสาน มีต านานเรื่องเล่าขานมากมาย  เมื่อรถแล่นผ่านรังสิตย่อมเป็นเหมือนสัญญานบอกว่าเราได้เริ่ม

                  พ้นเขตของกรุงเทพมหานครแล้วนั่นเอง  วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่พวกเราตื่นเต้นมากกับการที่ครูวารีบอก
                  พวกเราว่าจะเชิญอดีตครูเก่า โรงเรียนธัญบุรีที่มีความรู้ความเข้าใจและในบางช่วงของชีวิตท่าน ที่ได้มีส่วน

                  ร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น  ทั้งอ าเภอธัญบุรี  และเทศบาลนครรังสิตของเรา ท่านจะมาพูดคุยและเล่าถึง
                  ประวัติความเป็นมาของการขุดคลองรังสิตให้พวกเราฟัง

                                “ครูครับ คลองรังสิต หมายถึงตรงไหนบ้างครับเพราะผมเห็นมีคลองเต็มไปหมด
                  คลองหนึ่งถึงคลองอะไรถึงจะเรียกว่าคลองรังสิต  และที่เราอยู่ก็เรียกเมืองรังสิต งงอยู่เหมือนกันครับครู”
                  นักเรียนชายคนหนึ่งยกมือขึ้นถาม

                                     ครูวารีกล่าวว่า “ดีแล้วที่ถามมา  ในฐานะที่พวกเราเป็นคนท้องถิ่นเมืองรังสิตหรือ
                  แม้นบางคนเพิ่งจะย้ายตามบิดามารดามาอยู่ที่นี่  เราก็ควรมีความรู้ถึงประวัติความเป็นมาของบ้านเมือง รู้ถึง

                  วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่ไปที่มาของวัฒนธรรมและวิวัฒนาการของท้องถิ่นที่เราอยู่อาศัย เพื่ออะไรใครตอบ
                  ครูได้บ้าง”

                                สหรัฐ  “ผมครับ การเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของท้องถิ่นเมืองรังสิตว่ามีความเป็นมา
                  เป็นไปอย่างไร เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังควรรับรู้เพราะจะได้รับทราบความเป็นมา  ความเปลี่ยนแปลง  มีความรู้

                  พร้อมที่รับสิ่งที่ปรับเปลี่ยนในอนาคต  และช่วยกันรักษาวัฒนธรรมของท้องถิ่นบางอย่างไว้ด้วยครับ”
                  เพื่อนๆ  ช่วยกันปรบมือให้สหรัฐ  ซึ่งเจ้าตัวเองก็ดูเชื่อมั่นในค าตอบมากทีเดียว
                                ครูวารี “ดีมากลูกฟังแล้วชื่นใจ  ท าไมเราต้องเรียนประวัติศาสตร์  ท าไมเราจึงต้องรักษา

                  วัฒนธรรมประเพณี  เมืองรังสิตของเราก็มีเรื่องราวที่ต้องเรียนรู้ต้องอาศัยคนรุ่นใหม่แบบพวกนักเรียน
                  นี่แหละที่จะสามารถเรียนรู้  และเล่าสู่เรื่องราวสู่คนรุ่นหลังได้  สิ่งใดที่ควรรักษาไว้เพื่อความดีงาม

                  ถ่ายทอดได้ก็ควรช่วยกันรักษาไว้  เหมือนวันนี้ที่ครูเชิญท่านอาจารย์พงศ์สุข  นันทพัฒน์ปรีชา  มาให้ความรู้
                  แก่นักเรียน  ขอให้นักเรียนทุกคนตั้งใจฟัง และอะไรที่สามารถจดเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ก็จดไว้เพราะ
                  เรื่องราวบางเรื่องเราไม่สามารถสืบค้นได้จากต ารา  ท่านจะเล่าจากประสบการณ์ที่ท่านได้พบเห็นหรือฟัง

                  จากการเล่าสืบต่อกันมาที่เราเรียกว่า  “มุขปาฐะ” เราจึงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า  ปราชญ์ชาวบ้าน  ซึ่งปราชญ์
                  ชาวบ้านก็จะมีชื่อเรียกตามที่แต่ละท่านถนัดในแต่ละสาขา  ส าหรับท่านนี้เราเรียกท่านว่า  ปราชญ์ชาวบ้าน

                  ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของอ าเภอธัญบุรีเรา  โดยเฉพาะเรื่อง  การขุดคลองรังสิต”
                                “อาจารย์พงศ์สุข  ที่นักเรียนจะได้พบในวันนี้  ท่านเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมาโดยก าเนิด

                  แต่เข้ามาศึกษาที่กรุงเทพมหานคร  โดยอาศัยวัดสระเกศเป็นที่พักระหว่างเรียนหนังสือ  ท่านเป็นคนที่สนใจ
                  ในการเรียน  ชอบศึกษาค้นคว้าที่ส าคัญ คือ ท่านเป็นผู้ที่ความจ าในสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้อย่างแม่นย า

                  ท่านเริ่มรับราชการครูที่โรงเรียนวัดสระเกศ  ก่อนที่จะย้ายมาสอนที่โรงเรียนในเขตเทศบาลนครรังสิตใน
                  ปีพุทธศักราช 2505 ท่านเริ่มมาเป็นชาวรังสิต  มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเมืองรังสิตมากมายทั้งในด้าน
                  การศึกษาและอื่นๆ ทั้งยังมีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นอย่างดียิ่ง  ท่านยังเป็นครูที่มีลูกศิษย์






                                                             5
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10