Page 27 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 27

 ความสําคัญ
การศึกษาความชุกและผลการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ ท่ีบําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
ฐิติพงศ์ ศิริลักษณ์ และ เรวดี เจนร่วมจิต
 บทคัดย่อ
ปัญหายาเสพติดเป็นหนึ่งในปัญหาสังคมที่มีผลกระทบรุนแรงในทุกประเทศทั่วโลก สารเสพติด กลุ่มโอปิ ออยด์เป็นสารเสพติดที่อันตรายมากที่สุดโดยเฉพาะการเสพเกินขนาด การรักษาผู้เสพสารเสพติดจะบําบัดด้วยการ ใช้เมทาโดนระยะยาว ท้ังน้ีพบว่า ผู้ป่วยท่ีใช้สารเสพติดมักจะมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย จากข้อมูลโรงพยาบาลแม่วาง พบว่า มีผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย และพบการฆ่าตัวตายสําเร็จ 1 ราย และเป็น ปัญหาสําคัญของพ้ืนที่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติของประเทศไทยสําหรับประเมินและดูแลรักษาภาวะ ซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน ดังนั้นการศึกษาเพื่อหาความชุกและผลการรักษาภาวะซึมเศร้าจึงมีความ จําเป็น เพื่อวางแผนในการดูแลภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
วัตถุประสงค์
1) เพ่ือศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ท่ีบําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
2) เพ่ือศึกษาผลของการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยยาต้านซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ท่ีบําบัดด้วยเมทา
โดนระยะยาว
3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ท่ีบําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
วิธีการศึกษา
รูปแบบวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยทุกรายท่ีได้รับการบําบัดรักษา การติดยา เสพติด ณ คลินิกเมทาโดนระยะยาว โรงพยาบาลแม่วาง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซึ่ง ได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า PHQ-9 รวมทั้งบันทึกข้อมูลการได้รับเมทาโดน ยาต้านซึมเศร้า ประวัติการใช้สารเสพติด เก็บข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้เสพสารเสพติดโอปิออยด์ท่ีบําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว ใช้สถิติ Logistic regression analysis ในการวิเคราะห์แบบหลายปัจจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของ ผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บําบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวกับภาวะซึมเศร้า
ผลการศึกษา
ผู้ท่ีบําบัดจํานวน 204 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 94.1 อายุเฉลี่ย 38.9 ปี สารเสพติดส่วนใหญ่เป็น เฮโรอีน ร้อยละ 93.1 ฝ่ินร้อยละ 6.9 พบความชุกของภาวะซึมเศร้าจํานวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.2 ส่วนใหญ่มี ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 82.76 ผลของการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยยาต้านซึมเศร้า พบว่า สามารถลดภาวะ
22
 25
   


















































































   25   26   27   28   29