Page 29 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 29

 ความสําคัญ
การศึกษาและพัฒนารูปแบบการบําบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น เพ่ือเพิ่มพฤติกรรมป้องกันการเสพยาเสพติดซ้ํา
ภัทราภรณ์ กินร, สําเนา นิลบรรพ์, จรุณรักษ์ ยี่ภู่, อภิชาติ เรณูวัฒนานท์ และ นิภาวัล บุญทับถม
บทคัดย่อ
การใช้สารเสพติดในช่วงวัยรุ่นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น กระบวนการพัฒนาของสมอง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม กระบวนการวางแผนดูแลรักษาอย่างเหมาะสมเพ่ือป้องกันการเสพติดซ้ํา จึงเป็นส่ิงสําคัญใน การป้องกันไม่ให้วัยรุ่นได้รับผลกระทบจากการใช้สารเสพติดท่ีรุนแรงมากขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มวัยรุ่น จําเป็นต้องใช้หลายองค์ประกอบของทักษะต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ส่งผลต่อความตั้งใจและพฤติกรรมการไม่กลับเสพยาเสพ ติดซ้ํา
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและศึกษารูปแบบโปรแกรมการบําบัดรักษาที่ใช้สําหรับผู้ป่วยยาเสพติดวัยรุ่นเพ่ือเพิ่ม พฤติกรรมป้องกันการเสพยาเสพติดซ้ํา
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยพัฒนาชุดโปรแกรมการบําบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดวัยรุ่นเพ่ือเพิ่ม พฤติกรรมป้องกันการเสพยาเสพติดซ้ําและนํามาศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดอายุระหว่าง 13 – 21 ปี 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนความต้ังใจในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเสพติดและค่าคะแนนพฤติกรรมการ ป้องกันการเสพยาเสพติดโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ก่อนและหลังทดลอง การศึกษาน้ีได้รับการ รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สบยช.
ผลการศึกษา
ค่าคะแนนความต้ังใจในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเสพติดและความแตกต่างของค่าคะแนนพฤติกรรม การป้องกันการเสพยาเสพติดหลังจากการทดลองมีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.001)
สรุปและวิจารณ์
โปรแกรมการบําบัดรักษาที่ใช้สําหรับผู้ป่วยยาเสพติดวัยรุ่นเพ่ือเพิ่มพฤติกรรมป้องกันการเสพยาเสพติดซ้ํา อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนํามาใช้ร่วมกับการดูแลรักษาตามมาตรฐานที่เหมาะสมครอบคลุมแบบองค์รวมในการ บําบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดวัยรุ่นต่อไป
ข้อเสนอแนะ
  24
 27
   


















































































   27   28   29   30   31