Page 35 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 35

 การพัฒนารูปแบบการบําบัด ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในระบบยุติธรรมเด็กและเยาวชน (CBTxYM-FASTIC) : ศึกษาเฉพาะกรณีจิตเวชยาเสพติด
นายภูม์ิพงษ์ ขุนฉนมฉ่ํา
บทคัดย่อ
การบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยชุมชนมีส่วนร่วม หรือ CBTx เป็นรูปแบบการบําบัดฯ ท่ีใช้ กันแพร่หลายกับกลุ่มผู้ติดยาเสพติด แต่เนื่องจากเด็กเยาวชนมีข้อจํากัดด้านพัฒนาการ มีสภาพปัญหาและสังคม ซับซ้อนหลากหลาย จําเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง ปกป้อง ดูแลตามหลักสิทธิเด็กจึงนํารูปแบบการจัดการรายกรณี ในชุมชน (Community Case Management) มาปรับใช้เพื่อบูรณาการการทํางานให้เด็กเยาวชนปลอดจากยา เสพติดและไม่กระทําผิดซ้ํา การวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการบําบัด ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดย ใช้ชุมชนเป็นฐานในระบบยุติธรรมเด็กและเยาวชนในระยะต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ําของสถานพินิจฯ 4 แห่ง และ (2) ศึกษาปัจจัยความสําเร็จ บทเรียนและรูปแบบการดําเนินงานของการจัดการรายกรณีในชุมชน ดําเนินการ วิจัยตามวงจร PAOR ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart (1990) ประกอบด้วย การวางแผน (plan : P) การปฏิบัติตามแผน (act : A) การสังเกต ตรวจสอบผล จากการปฏิบัติ (observe : O) และการสะท้อนผล (reflect : R) พื้นท่ีวิจัยคัดเลือกตามหน่วยงานท่ีมีผลการ ดําเนินงาน ด้านการประสานชุมชนท่ีดีของกรมฯ ผู้ร่วมวิจัยมีท้ังนักวิจัยส่วนกลางและนักวิจัยพื้นท่ีจํานวน 32 คน โดยนําเทคนิคการจัดการความรู้มาเป็นเคร่ืองมือในการสะท้อนการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจาก การลงพ้ืนท่ีนิเทศ ติดตาม และผลการประชุมถอดบทเรียนการเรียนรู้ ผลการศึกษาพบว่าเด็กและเยาวชนท้ัง 4 แห่ง ได้รับการสอดส่องเฝ้าระวังความประพฤติทั่วๆไป มีการดําเนินการตามแผนรองรับปัญหาเฉพาะด้านด้วย กลไกเครือข่ายชุมชน ผู้จัดการรายกรณีในชุมชนเตรียมการรองรับปัญหาก่อนปล่อยตัวกลับชุมชนด้วยข้อมูลจาก สถานพินิจฯ สอดส่องเฝ้าระวังความประพฤติและดําเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยความร่วมมือในระดับจุลภาค (Micro Level) จากสมาชิกในชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กํานัน อสม. และในระดับมัชฌิมภาค (Mezo Level) จาก รพสต อบต. สภอ. ฯลฯ โดยมีฝ่ายปกครองของอําเภอเป็นผู้ประสานกลไกภาครัฐมาสนับสนุนการทํางานของ ผู้จัดการรายกรณีในชุมชน ปัจจัยความสําเร็จน้ีเกิดจากภาวะผู้นําของฝ่ายปกครอง ความตระหนักในการให้โอกาส กลไกท่ีเข้ามาแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของปัญหา ทักษะการประสานงานและบุคลิกลักษณะ ของผู้จัดการรายกรณีในชุมชน ในอนาคตควรมีการศึกษารูปแบบการจัดการรายกรณีในเยาวชนกลุ่มเสพยาเสพติด รวมท้ังปัจจัยการบริหารการบูรณาการของฝ่ายนโยบาย
29
 33
   




























































































   33   34   35   36   37