Page 41 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 41
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดผ่าน Application Sakhrai Hoscare
อลงกฏ ดอนละ,วรรัตน์ สุขม่วง,ณพัทธ์พล โชติวัฒนปรีชากุล,ชัยพัฒน์ อักษร, รัตญา โสตาราช และปริชญา จันทกุล
หลักการและเหตุผล
ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด อําเภอสระใครในปี พ.ศ. 2564 มีความเส่ียงต่อการก่อความรุนแรง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจิตเวชในอําเภอสระใคร เนื่องจากไม่มารับยาตามนัด การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วย ในชุมชนยังน้อย ไม่มีระบบเช่ือมโยงฐานข้อมูลการรักษาและติดตามผู้ป่วยในชุมชน ไม่ทราบพิกัดบ้านผู้ป่วยยากต่อ การเข้าถึง กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสระใคร จึงพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ผ่าน Application Sakhrai Hoscare
วัตถุประสงค์
1. เพ่ือพัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงให้ได้รับการดูแลรักษาอย่าง ต่อเน่ือง ป้องกันไม่ให้อาการกําเริบรุนแรง
2. เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดและผู้ท่ีมีปัญหาสุขภาพจิต และยาเสพติดในชุมชน
3. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดและผู้ท่ีมีปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดให้ เป็นไปตามมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว
วิธีการดําเนินงาน
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสระใครต้ังแต่ พ.ศ.2564-2567 โดยออกแบบร่วมกับทีม IT นําระบบ สารสนเทศเข้ามาช่วยในการตรวจสอบข้อมูล การตรวจรักษา การขาดการรักษา การติดตาม การแจ้งเตือนนัด การแจ้งเตือนฉุกเฉินและการส่งต่อประจําปี โดย สร้างแอพพลิเคช่ัน Sakhrai Hoscare ตามวงจรการพัฒนาระบบ Software Development Life Cycle (SDLC) มี 7 ขั้นตอน
ผลการดําเนินงาน
1. การติดตามผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดท่ีมีความเส่ียงให้ได้รับการดูแลรักษาอย่าง ต่อเน่ือง ป้องกันไม่ให้ อาการกําเริบรุนแรงมากกว่าร้อยละ 80
2. ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดรับยาต่อเน่ืองมากกว่าร้อยละ 70 3. ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดฉุกเฉินส่งต่อน้อยกว่าร้อยละ 10
สรุป
35
39