Page 39 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 39

 โครงการสานพลังชุมชน คนหัวชุกบัว ล้อมรักษ์ให้ครอบครัว ขจัดภัยยาเสพติดอย่างยั่งยืน
ธนาธิป บุญญาคม
หลักการและเหตุผล
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมของชุมชนหัวชุกบัว จากการประกอบอาชีพทํานาข้าวเป็นการ เล้ียงกุ้ง และรับจ้างใช้แรงงาน ขับรถบรรทุกขนส่ง ปัญหาหนึ่งท่ีสําคัญคือการระบาดของยาเสพติดในชุมชน ในขณะท่ีทัศนคติและความเข้าใจของคนในชุมชน ผู้ติดยาเสพติด ผู้ใช้ยาเสพติด คือบุคคลท่ีอันตราย น่ารังเกียจ ไม่ควรเข้าไปเก่ียวข้องด้วย การดูแลรักษาผู้ติดยาเสพติดเป็นเรื่องส่วนบุคคลระหว่างครอบครัวและหน่วยงานรัฐ ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการดําเนินการดูแลผู้ติดยาเสพติด ทําให้ปัญหายาเสพติด ถูกปล่อยปละละเลย ไม่ถูกนํามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ผู้ใช้ยาเสพติดและผู้ติดยาเสพติดถูกกันไปอยู่อีกกลุ่มหน่ึงของชุมชน กระบวนการบําบัดรักษาท่ีผ่านมา ผู้นําชุมชนมีการติดต่อประสานส่งตัวผู้ใช้ยาเสพติดเข้ารับการบําบัดตามศูนย์ บําบัดฯ ในลักษณะของค่ายบําบัดรักษาฟ้ืนฟูผู้ติดยาเสพติด ประสบกับปัญหาผู้บําบัดสามารถหยุดการใช้ยาได้ เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อกลับเข้าสู่ชุมชน กลับเข้าสู่ส่ิงแวดล้อมเดิม ๆ ถูกคนในชุมชนตีตราว่าเป็นคนไม่ดีไม่ได้รับ การยอมรับจากคนในสังคม เป็นสาเหตุทําให้ผู้ป่วยท่ีผ่านการบําบัดกลับไปใช้ยาดังเดิมหรือมากข้ึนกว่าเดิม ทําให้มี จํานวนผู้ป่วยยาเสพติดในชุมชุนเพิ่มจํานวนมากข้ึน และอีกทั้งยังประสบปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ไม่สามารถ เข้าสู่กระบวนการบําบัดอีกเป็นจํานวนมาก
วัตถุประสงค์
เพ่ือพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพ้ืนท่ีชุมชนหัวชุกบัว ตําบลสระพัฒนา อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม
วิธีการดําเนินการ
การดําเนินการคร้ังน้ี ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดําเนินการ โดยดําเนินการ 16 เดือน ต้ังแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งใช้การดําเนินการเป็น 5 ระยะ คือ ข้ันวิเคราะห์ สถานการณ์ ข้ันเตรียมการและวางแผน การดําเนินการ การติดตามประเมินผล และการสะท้อนบทเรียนการ ดําเนินการ ดําเนินการในกลุ่มแกนนําชุมชน ทั้งกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตําบลสระพัฒนา อสม.ผู้นํา ชุมชน ตํารวจอาสา พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.สระพัฒนา ตํารวจ ครูโรงเรียน วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพ ติ ด ในชุมชน ส่วนข้ันเตรียมการ สร้างภาคีเครือข่ายดําเนินงาน แต่งต้ังคณะทํางาน จัดทําคําส่ัง มอบหมายบทบาท ภารกิจ ระดมทรัพยากรในชุมชน แบ่งคุ้มละแวกรับผิดชอบ แต่งต้ังคณะกรรมการคุ้ม ข้ันดําเนินการประชุม ประชาคม ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ประชาคมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน สะท้อนให้คนในชุมชนเห็น ถึงความเส่ียง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในชุมชน จนเกิดการยอมรับและร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน คัดกรองตามกระบวนการ จนได้ผู้สมัครใจเข้ารับการบําบัดฟ้ืนฟู เข้าสู่กระบวนการบําบัด ควบคู่ไปกับการดูแลด้าน
33
 37
   
























































































   37   38   39   40   41