Page 78 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 78
76
ตําแหน่งปัจจุบัน สถานที่ทํางาน ช่ือผลงาน
บุคคลผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการบริหารจัดการและพัฒนานโยบายการแก้ไขปัญหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด นายสุวรรณ เนตรเนติกุล
นายอําเภอโพธิ์ศรีสวุ รรณ จงั หวดั ศรีสะเกษ (ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2566) ท่ีทําการปกครองอําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ มินิธัญญารักษ์โพธ์ิศรีสุวรรณและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดศรีสะเกษ สาขาอําเภอโพธิ์ศรี สุวรรณ
นายอําเภอโพธ์ิศรีสุวรรณ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) ร่วมกับ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ประชาชน ตลอดจนคณะสงฆ์ ในพ้ืนท่ีอําเภอโพธ์ิศรี สุวรรณ ได้ร่วมกันผลักดันให้มีมินิธัญญารักษ์โพธิ์ศรีสุวรรณข้ึน โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โรงพยาบาล โพธิ์ศรี สุวรรณได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารบริการบําบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดแบบผู้ป่วยใน และอาคารสถานที่ สําหรับบุคลากรปฏิบัติงานดูแลบําบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดซึ่งมีขนาด40เตียงรอบการรักษา 1-4เดือน(Long Term Care : LTC) และได้จัดทําผ้าป่าระดมทุนจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ในการจัดการบริการดูแลบําบัดรักษา ผู้ป่วยติดยาเสพติดและสารเสพติดระยะยาว เม่ือวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นเงินทั้งส้ิน 848,017 บาท พร้อม ท้ังได้ส่ังการให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อยู่เวรรักษาความปลอดภัยดูแลความสงบเรียบร้อยทุกคืน ต้ังแต่เวลา 20.00 น. จนถึง 08.00 น.ของวันถัดไป และให้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ที่ 23 ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยทุกคืน นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดศรีสะเกษ สาขา อําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดศรีสะเกษ สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ครบท้ัง 5 แห่ง โดยมีหน้าที่ติดตาม ช่วยเหลือ และให้คําแนะนําผู้ผ่านการบําบัด และรายงานให้อําเภอทราบเป็นประจําทุก เดือน เพ่ือประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ต่อไป ซ่ึงปัจจุบันดําเนินการติดตามฯ แล้วทั้งส้ิน 29 ราย
ผลลัพธ์
ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันท่ี 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับบริการท้ังสิ้น 230 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยในพ้ืนที่อําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ 51 ราย และผู้ป่วยจากนอกพื้นท่ี 179 คน ซ่ึงจากการติดตามหลังการ บําบัดการรักษา พบว่า มีผู้กลับไปใช้ซ้ํา 3 เดือนแรก ร้อยละ 37 (83 ราย) กลับไปใช้ซ้ําใน 6 เดือน ร้อยละ 54 (120 ราย) ไม่กลับไปใช้ซ้ํา ร้อยละ 30 (66 ราย) และอยู่ระหว่างการขอทุนเพ่ือประกอบอาชีพต่อหลังบําบัดครบจํานวน 4 ราย (ข้อมูล ณ วันท่ี 1/8/ 2567) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดศรีสะเกษ สาขาอําเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ได้มีการสร้าง/ซ่อมแซมบ้านให้ผู้ป่วยยาเสพติดท่ีผ่านการบําบัด จํานวน 3 ราย
72