Page 80 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 80

 78
 บุคคลผู้มีผลงานยอดเย่ียม บุคคลที่มีผลงานด้านการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แพทย์หญิงณัฏฐ์วรัตถ์ อเนกวิทย์
ตําแหน่งปัจจุบัน นายแพทย์เช่ียวชาญ
สถานที่ทํางาน กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลมหาสารคาม ช่ือผลงาน “ตักสิลาโมเดล”
การพัฒนารูปแบบการดําเนินงานจิตเวชและสารเสพติดท่ีครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยทุกมิติในจังหวัด มหาสารคาม ในช่ือเรียก “ตักสิลาโมเดล” เป็นระบบการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดแบบไร้รอยต่อ ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภายในจังหวัด โดยการส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนางาน เพื่อการส่งเสริม ป้องกัน บําบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ให้ได้รับการค้นหา การคัดกรอง และประเมิน การรักษาพยาบาล การรับและส่งต่อข้อมูลในแต่ละระดับ รวมถึงการดูแลช่วยเหลือในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดผ่านกลไกของคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) และการพัฒนาแนวทางการประเมินระดับอาการของโรค (CGI-S) เพ่ือช่วยให้โรงพยาบาลชุมชนสามารถจัดลําดับความเร่งด่วนในการให้การดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยตามระดับ ความรุนแรง รวมถึงการพัฒนาแนวทางการประเมินความบกพร่องหรือข้อจํากัดของผู้ป่วยในด้านต่างๆ ที่อาจ ส่งผลรบกวนในการเข้ารับการบําบัดรักษาเพื่อลดอัตราการ Drop out นอกจากน้ียังรวมถึงการพัฒนาระบบ การรับและส่งต่อผู้ป่วยภายในและภายนอกจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการศูนย์อํานวยการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) เพ่ือสร้างเครือข่ายการดําเนินงานการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด รวมทั้งการติดตามผลการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์
รูปแบบการดําเนินงาน “ตักสิลาโมเดล” ได้รับการขยายผลจากอําเภอนําร่องสู่ทุกอําเภอในระดับ
จังหวัด และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ครอบคลุมพื้นที่ท้ังจังหวัด ทําให้ผู้ป่วยจิตเวช และยาเสพติดในจังหวัดเข้าถึงบริการเพ่ิมมากข้ึนอย่างต่อเนื่อง จํานวนของผู้ใช้ ผู้เสพที่บําบัดครบตามเกณฑ์ ของแต่ละระบบ หยุดเสพต่อเนื่องหลังจําหน่ายจากการบําบัด 3 เดือนมีจํานวนเพ่ิมมากขึ้น นอกจากน้ีการ คัดกรองและการประเมินความบกพร่องหรือข้อจํากัดอย่างรอบด้าน ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือในมิติ ต่างๆ ได้เพ่ิมมากข้ึน ส่งผลให้อัตราการ Drop out มีจํานวนลดน้อยลง และจากความร่วมมือในการดําเนินงาน ของภาคส่วนต่างๆ ทําให้จํานวนกลุ่มเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในระดับจังหวัดลดลงได้ตาม เป้าหมายท่ีวางไว้
 74
 

























































































   78   79   80   81   82