Page 193 - Health Impact Assessment of policies related to local pharmaceutical industry development towards technology readiness and access to medicines: HIAPP
P. 193
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา 179
2. ผลการจำลองผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาภายในประเทศหากประเทศไทยเข้าร่วมความตกลง
CPTPP
จากการวิเคราะห์ข้อบทความตกลง CPTPP พบว่าข้อบทที่จะส่งผลกระทบต่ออุตาหกรรมยา
ภายในประเทศมี 2 เรื่องหลักๆ คือ Patent linkage และ Government procurement & State owned
Enterprise
2.1 ผลกระทบจากความตกลงตามข้อบทเรื่อง Patent Linkage
จากการวิเคราะห์ตีความข้อบทคาดการณ์ได้ว่าผลกระทบในภาพรวมจะทำให้ผลิตภัณฑ์ยาสามัญที่
ผลิตในประเทศเข้าสู่ตลาดช้าลง 2 ปี และมีอัตราการเติบโตของตลาดยาสามัญที่ผลิตในประเทศช้าลง โดยการ
จำลองผลกระทบจะปรับค่าตัวเปรที่ได้รับผลกระทบเป็น 2 ระดับ คือ ผลกระทบระดับต่ำ (low impact) และ
ผลกระทบระดับสูง (high impact) ดังแสดงค่าตัวแปรที่ปรับเปลี่ยนไปจากสถานการณ์ BAU ในตารางที่ 23
ตารางที่ 23 แสดงค่าตัวแปรที่ปรับเปลี่ยนค่าเพื่อจำลองผลกระทบจากข้อบทเรื่อง patent linkage ต่อ
อุตสาหกรรมยา
ตัวแปรที่ได้รับผลกระทบ BAU Low High
Impact Impact
สัดส่วนมูลค่าของยาที่หมดอายุสิทธิบัตร 0.08 0.07 0.07
การชะลอการเข้าสู่ตลาดของยาสามัญที่ผลิตใน - 2 ปี 5 ปี
ประเทศ
สัดส่วนมูลค่ายาหมดสิทธิบัตรที่ถูกแทนที่ด้วยยา 0.56 0.60 0.60
สามัญนำเข้าตัวแรก
สัดส่วนมูลค่ายาหมดสิทธิบัตรที่ถูกแทนที่ด้วยยา 0.39 0.36 0.36
สามัญตัวแรกที่ผลิตในประเทศ
สัดส่วนมูลค่ายาหมดสิทธิบัตรที่ถูกแทนที่ด้วยยา 0.05 0.04 0.04
สามัญตัวแรกที่ผลิตโดย GPO
สัดส่วนปรับค่าราคายาสามัญตัวแรกที่ผลิตในประเทศ 0.60 0.60 0.50
จากราคายาติดสิทธิบัตร
อัตราการเติบโตของตลาดยาติดสิทธิบัตร
ยาชีววัตถุ 7.62% 9% 9%
ยาเคมี 2.2% 3% 4%
อัตราการเติบโตของตลาดยาสามัญนำเข้า 5% 6% 7%
อัตราการเติบโตของตลาดยาสามัญผลิตในประเทศ 2.7% 2% 2%
อัตราการเติบโตของตลาดยาสามัญผลิตโดย GPO 3.1% 2% 2%
มูลค่ายาหมดสิทธิบัตรที่สามารถแทนที่ได้ด้วยยา 25% 20% 20%
สามัญตัวแรก