Page 19 - โลกเปลี่ยน คนปรับ สุวิทย์ เมษินทรีย์
P. 19

แต่โลกเปลี่ยน  คนปรับ  ความพอเพียงในโลกหลังโควิดสร้างภาพ

           ของความหวัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำาหรับประเทศไทย  เป็นโอกาส
           “เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”  นำาปรัชญาของเศรษฐกิจพอ
           เพียง มาสร้างสมดุล


             หนังสือนี้ไม่ได้หยุดอยู่ที่หลักคิด แต่ได้แยกแยะเสนอแนวทางสู่การ
           ปฏิบัติด้วย “การขยับปรับเปลี่ยนโลก 7 ประการ” ชี้ทางปฏิบัติร่วมกัน
           ของคนไทย ในโลกหลังโควิด โมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยที่เป็นรูป

           ธรรม มีชื่อว่า “BCG Economy Model” นำาหลักใน 3 มิติ ที่ต่างกัน
           มาผสมกันเพื่อตอบโจทย์ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจ

           หมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
           ด้านแรกเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านที่สองเป็น
           กระบวนการที่ครบวงรอบคุณค่า ด้านที่สามเป็นผลกระทบสิ่งแวดล้อม

           และความยั่งยืน  เมื่อเอาสามด้านมาผสมกัน  กลายเป็น  4  สาขา
           ยุทธศาสตร์ ตอบโจทย์การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและเชื่อม

           ประเทศไทยสู่ประชาคมโลก มิเพียงเท่านั้น ในหนังสือยังได้นำาเสนอ
           การใช้ชีวิตที่สมดุล เพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด โดยเน้น
           การเชื่อมโยงการดำารงชีวิต การทำางานและการเรียนรู้ ไปจนถึงการ

           ปรับเปลี่ยนในสังคม จนเป็นสังคมที่อุบัติขึ้นหลังโควิด มีวัฒนธรรมการ
           เกื้อกูลกัน กัลยาณมิตรทางสังคม และจิตวิญญาณสาธารณะ ซึ่งคำาตอบ

                                                                 ี
               ู
                                                                       ู
           มีอย่แล้วในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีรายละเอียดท่ท่านผ้อ่าน
           จะสามารถเปิดความคิดออกไปตามที่ท่านผู้เขียนได้บรรจงอรรถาธิบาย
             ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจในสังคมรอบด้านได้อ่านหนังสือเล่มนี้

           และขยายความคิดและจินตนาการออกไป  อันจะเป็นประโยชน์ต่อ
           สังคมไทยต่อไป
                                                          จรัส สุวรรณเวล�
                                                            พฤษภาคม 2563


                                                                         XVII
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24