Page 7 - 2. รายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำผิวดิน สคพ.4 _2565
P. 7

3

                      ในเขตพื้นที่ 22 ลุ่มน้ำหลักในปัจจุบัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 ซึ่ง
            แบ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาจำนวน 353 ลุ่มน้ำและหมู่เกาะต่าง ๆ ของแต่ละลุ่มน้ำหลักอีกจำนวน 6 หมู่เกาะ จำแนกตามภาค

            รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 1.2
            ตารางที่ 1.2 ลุ่มน้ำหลักในปัจจุบันจำแนกตามภาค

                          ภาค                                           รายชื่อลุ่มน้ำ

             ภาคเหนือ                            1.  ลุ่มน้ำสาละวิน                  4. ลุ่มน้ำวัง
                                                 2.  ลุ่มน้ำโขงเหนือ                 5. ลุ่มน้ำยม
                                                 3.  ลุ่มน้ำปิง                        6. ลุ่มน้ำน่าน

             ภาคกลาง                             1.  ลุ่มน้ำเจ้าพระยา               6. ลุ่มน้ำบางปะกง
                                                 2.  ลุ่มน้ำสะแกกรัง                7. ลุ่มน้ำโตนเลสาบ
                                                 3.  ลุ่มน้ำป่าสัก                     8. ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
                                                 4.  ลุ่มน้ำท่าจีน                     9. ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์

                                                 5.  ลุ่มน้ำแม่กลอง
             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ               1.  ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ         3. ลุ่มน้ำมูล
                                                 2.  ลุ่มน้ำชี

             ภาคใต้                              1.  ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน     3. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
                                                 2.  ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง    4. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก


            1.2 ลุ่มน้ำหลักที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์)
                                                                  ี่
                                    ื้
                     จากการแบ่งเขตพนที่ลุ่มน้ำหลักดังกล่าว มีลุ่มน้ำหลักทอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุม
            มลพิษที่ 4 (นครสวรรค์) จำนวน 4 ลุ่มน้ำ ดังแสดงในตารางที่ 1.3
            ตารางที่ 1.3 ลุ่มน้ำหลักที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์)

                       ลุ่มน้ำ          จังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4
                                        ที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำ (นครสวรรค์)

             ลุ่มน้ำปิง                 จังหวัดกำแพงเพชร  จังหวัดนครสวรรค์
             ลุ่มน้ำยม                  จังหวัดกำแพงเพชร  จังหวัดนครสวรรค์  จังหวัดพิจิตร
             ลุ่มน้ำน่าน                จังหวัดกำแพงเพชร  จังหวัดนครสวรรค์  จังหวัดพิจิตร

             ลุ่มน้ำเจ้าพระยา           จังหวัดกำแพงเพชร  จังหวัดนครสวรรค์  จังหวัดอุทัยธานี
             ลุ่มน้ำสะแกกรัง            จังหวัดกำแพงเพชร  จังหวัดนครสวรรค์  จังหวัดอุทัยธานี


                     นอกจากลุ่มน้ำหลักจำนวน 4 ลุ่มน้ำแล้ว สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์) ยังมี
            บึงน้ำจืดที่สำคัญอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 2 แหล่งน้ำ ได้แก่
                     1.  บึงบอระเพ็ด
                         บึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 132,737 ไร่


            56 ตารางวา มีอาณาเขตติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก
                     2.  บึงสีไฟ
                         บึงสีไฟเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่างตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ทั้งหมด

            5,390 ไร่เศษมีอาณาเขตติดต่อ 4 ตำบล คือ ตำบลท่าหลวง ตำบลคลองคะเชนทร์ ตำบลโรงช้าง และตำบลเมืองเก่า

                                                                    ี
                          รายงานสถานการณ์คุณภาพน ้าแหล่งน ้าผิวดิน ประจ าปงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    ส ำนักงำนสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์)
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12