Page 15 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 15

   นํามาบันทึกได้รวดเร็ว ปรับปรุงแบบฟอร์ม กําหนดเป็นนโยบายให้ความสําคัญของการบันทึกทางการพยาบาล เพื่อให้เกิดการปฏิบัติจริงและมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับแนวทางการบันทึกและตรวจประเมิน คุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในส่วนของพยาบาล (สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2553) และ การประเมินของกองการพยาบาลได้กําหนดเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลใช้หลักคือ ความถูกต้อง ความครบถ้วน ชัดเจน และได้ใจความ (กองการพยาบาล, 2539) มากําหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองของพยาบาลวิชาชีพในการเขียนบันทึก ทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด ระยะก่อนการพัฒนา และหลังการพัฒนา
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการตรวจประเมินบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด ระยะก่อน การพัฒนา หลังการพัฒนา และติดตามผล
3. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการวิเคราะห์คุณภาพบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด ระยะ ก่อนการพัฒนา หลังการพัฒนา และติดตามผล
วิธีการศึกษา
รูปแบบการศึกษา
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research One Group Pre–Post and Follow Test Design) วัดผลก่อน หลังการพัฒนา และระยะติดตามผล ทําการศึกษาช่วงเดือนธันวาคม 2562- พฤศจิกายน 2563
ประชากรศึกษา/กลุ่มตัวอย่าง
1) พยาบาลวิชาชีพประจําหอผู้ป่วยใน เป็นพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยระยะบําบัดด้วยยา หรือระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ 2) เวชระเบียนผู้ป่วยยาเสพติดที่จําหน่ายครบกําหนด
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดเป็น แบบวัดความมั่นใจของพยาบาลในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด แบบประเมินมีลักษณะ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตั้งแต่มีความสามารถในการเขียนบันทึกระดับน้อย ค่อนข้างน้อย ปานกลาง ค่อนข้างมาก มาก จํานวน 21 ข้อ
2. แบบตรวจประเมินบันทึกทางการพยาบาล เป็นแบบตรวจประเมินบันทึกทางการพยาบาลจาก เวชระเบียนผู้ป่วยยาเสพติดที่จําหน่ายแล้วโดยใช้แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึก เวชระเบียนในส่วนของพยาบาล แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ ตั้งแต่ ไม่มีการบันทึก มีการบันทึกเล็กน้อย มีการบันทึกพอใช้ มีการบันทึกดี จํานวน 24 ข้อ
3. แบบวิเคราะห์คุณภาพบันทึกทางการพยาบาล เป็นแบบวิเคราะห์คุณภาพตามเกณฑ์ การตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ ตั้งแต่ ไม่มีการบันทึก มีการบันทึกเล็กน้อย มีการบันทึกพอใช้ มีการบันทึกดี จํานวน 14 ข้อ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ที่ได้ทั้ง 3 ชุดมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยตรวจสอบ ความตรงในเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 ท่านประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล อาจารย์พยาบาลจากคณะพยาบาลศาสตร์ อาจารย์พยาบาลจากกองการพยาบาล และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ ด้านยาเสพติด 2 คน และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยนําทดลอง
13




















































































   13   14   15   16   17