Page 25 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 25

   ความสําคัญ
โรคจิตเภทเป็นการเจ็บป่วยทางจิตซึ่งมีมากกว่าผู้ป่วยโรคจิตเวชอื่นๆ ทั่วโลก พบได้มากถึงร้อยละ 0.32 (WHO, 2022) ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยจิตเภทมีปัญหาการใช้สารเสพติดร่วมด้วยในอัตราที่สูงขึ้น (Hunt, Large, Cleary, Lai and Saunders, 2018) โดยปัจจัยหนึ่งที่นํามาซึ่งการป่วยซ้ําของผู้ป่วยจิตเภทเกิดจากปัญหา การใช้สารเสพติด (Substance use disorder) (สินเงิน สุขสมปอง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ และพลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, 2559; 2012)
ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนที่ป่วยซ้ําและเสพซ้ํา อธิบายได้ว่าเกิดจากสารเมทแอมเฟตามีน ไปกระตุ้น Brain reward system ส่งผลต่อการปลดปล่อยสารโดปามีนแบบชั่วคราวให้เข้มข้นมากขึ้นจนเกิด พิษในระบบประสาทระดับรุนแรง ผู้ป่วยจิตเภทไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดใช้สารเมทแอมเฟตามีน ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตแบบเฉียบพลันได้ง่าย อีกทั้งสารเมทแอมเฟตามีนยังไปยับยั้งประสิทธิภาพ การออกฤทธิ์ของยาต้านอาการทางจิต และส่งผลให้เกิดภาวะข้างเคียงจากยาได้ง่าย (Murrie, Lappin, Large and Sara, 2020) เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยจิตเภทไม่ร่วมมือใช้ยาตามแผนการรักษา นําไปสู่การพยากรณ์โรคที่แย่ลง และเกิดอาการทางจิตที่รุนแรงขึ้นมากได้ง่าย (Hunt, Large, Cleary, Lai and Saunders, 2018) นอกจากนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสพซ้ําในผู้ป่วยจิตเภท ได้แก่ มุมมองว่าตนเองไม่ได้เจ็บป่วยทางจิตจากการใช้ สารเมทแอมเฟตามีน ขาดเป้าหมายในการเลิกใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นหนทางช่วยลดความเครียดจาก ปัญหาชีวิต สะท้อนให้เห็นการเผชิญและแก้ไขปัญหาที่ไม่สร้างสรรค์ ตลอดจนความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากความเชื่อผิดๆ จึงสรุปได้ยากว่าการเสพซ้ําสารเมทแอมเฟตามีนเป็นสาเหตุของการป่วยซ้ํา หรือการป่วยซ้ํา จากอาการทางจิตเป็นสาเหตุของการเสพซํา้สารเมทแอมเฟตามีน
ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีนเป็นกลุ่มที่มีความซับซ้อนในการดูแลทางการพยาบาล จากหลักฐาน เชิงประจักษ์จึงจําเป็นที่ต้องใช้การบําบัดทางจิตสังคมมาใช้ร่วมกับการบําบัดรักษาด้วยยาทางจิตเวช การหา แนวทางในการบําบัดผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่าการจัดรูปแบบ การบําบัดแบบผสมผสานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นปัญหาการป่วยซ้ําและเสพซ้ํา ให้ผู้ป่วยได้รับการบําบัดดูแลตาม สภาพปัญหาที่มีความเฉพาะแต่ละรายตามระยะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในขั้นเพิกเฉย ขั้นลังเลใจ/ชั่งใจ และขั้นเตรียมตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนที่จะจําหน่ายจากโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการดําเนินงาน กันแบบทีมสหวิชาชีพโดยมีพยาบาลจิตเวชเป็นผู้จัดการรายกรณี (Drake, O’Neal and Wallach, 2008; เอกอุมา อิ้ม คํา, 2556; วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, วิภาวี เผ่ากันทรากร และวีรพล อุณหรัศมี, 2561) จึงนําไปสู่การพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลเพื่อช่วยลดการป่วยซ้ําและเสพซ้ําในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้ เมทแอมเฟตามีน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน
2. เพื่อศึกษาผลของรูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป้องกันการป่วยซ้ําและเสพซ้ําในผู้ป่วย จิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามนี
  Alvarez-Jimenez, M., & et al,
ในปีงบประมาณ 2562-2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้
 สารเมทแอมเฟตามีนมากที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มเมทแอมเฟตามีนที่เป็นยาบ้า (กรมสุขภาพจิต, 2565) ส่งผลให้
 เกิดการป่วยซ้ําและการเสพซ้ําได้มากกว่าผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน
23























































































   23   24   25   26   27