Page 29 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 29

   2. แบบประเมินระดับอาการทางจิต (The Brief Psychiatric Rating Scale: BPRS) ประเมิน การป่วยซ้ําจาก 3 อาการ คือ ความคิดสับสน ประสาทหลอน หรือเนื้อหาความคิดผิดปกติ หากพบว่าอาการ ทางจิตอย่างน้อยหนึ่งในสามอาการนี้ มีระดับรุนแรงมาก (6 คะแนน) ขึ้นไป จึงแปลความว่า “ป่วยซ้ํา” (Moges, S., Belete, T., Mekonen, T., & Menberu M., (2021). ค่า Inter-Rater Reliability (IRR) ระหว่าง ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย เท่ากับ 1.00
3. ชุดทดสอบสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเสพ สารเมทแอมเฟตามีนซ้ํา
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังน้ี
1) ระยะเตรียมตัว ทําความเข้าใจกับผู้จัดการรายกรณีในการใช้เครื่องมือวิจัย โดยนําเครื่องมือ การวิจัยไปทดลองใช้ และมาปรึกษาร่วมกันเกี่ยวกับการดําเนินการบําบัดตามกิจกรรม ทําความเข้าใจกับผู้ช่วยวิจัยใน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลหลังสิ้นสุดการทดลอง และประชุมร่วมกับหอผู้ป่วยที่มีกลุ่ม ตัวอย่างเข้ารับการรักษา ทําการชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย ประโยชน์จากการวิจัย ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนการดําเนินการ
2) ระยะดําเนินการ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลด้วย “รูปแบบผสมผสานการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย จิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน” ระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลด้วย “การพยาบาลตามปกติ”
3) ระยะสิ้นสุด ผู้ช่วยวิจัยทําการนัดหมายกลุ่มตัวอย่างที่กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชยาเสพติดและ ติดตามการป่วยซ้ําและการเสพซ้ําหลังสิ้นสุดการทดลองและจําหน่ายในสัปดาห์ที่ 2 และ 4
จริยธรรมการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ได้รับการรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการวิจัยในคนของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ เจ้าพระยา เลขที่ SD.IRB.APPROVAL. 001/2566 วันที่รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 โดยมีการพิทักษ์สิทธิ กลุ่มตัวอย่าง มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ วิธีการดําเนินการ การเก็บข้อมูลเป็นความลับ และสิทธิในการตอบรับ หรือปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัยโดยจะไม่มีผลกระทบต่อการรักษา
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลส่วนบุคคลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ําสุด ค่าฐานนิยม ข้อมูลการเปรียบเทียบความแตกต่างของจํานวนการป่วยซ้ํา และจํานวนการเสพซ้ําใช้สถิติ Phi Coefficient และความเสี่ยงสัมพันธ์ของอัตราการเกิดการป่วยซ้ําและการเสพซ้ําในกลุ่มทดลองเทียบเท่าของกลุ่มควบคุม ใช้สถิติ Risk Ratio (RR) กําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา
การพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป่วยซ้ําและเสพซ้ําในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน ทําให้เกิดคู่มือ “แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: รูปแบบผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้ เมทแอมเฟตามีน” ซ่ึงใช้ระยะเวลาให้การพยาบาล 4 สัปดาห์ มีข้ันตอนและกิจกรรมดังรายละเอียด
   27






















































































   27   28   29   30   31