Page 36 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 36
เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ ช่วยให้ผู้ป่วยขั้นลังเลใจ/ชั่งใจตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเมทแอมเฟตามีน มานาน สอดคล้องกับการวิจัยที่พบว่าความรู้สึกเหนื่อยกับการใช้สารเสพติดเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ แรงจูงใจในการเลิกเสพซ้ํา (Battjes, Gordon, O’Grady, Kinlock and Carswell, 2003) ที่ช่วยส่งผลต่อ การตัดสินใจในการป้องกันการเสพซ้ําเข้าสู่ขั้นเตรียมตัว เป็นการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกรูปแบบ การบําบัดความคิดและพฤติกรรม ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักโครงสร้างความคิดอัตโนมัติที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสพซ้ํา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปัญหาความเครียดที่ส่งผลต่อการเสพซ้ํา สอดคล้องการวิจัยปัจจัยการใช้สารเสพติดของ ผู้ป่วยจิตเภทร่วมสารเสพติดที่พบว่าการใช้สารเสพติดมีความสัมพันธ์กับการจัดการกับปัญหาในแง่การใช้ เพื่อลดความเครียด (สุภาภรณ์ นิยวัฒน์ชาญชัย และปัทมา ศิริเวช, 2562) การช่วยให้ผู้ป่วยปรับความคิดต่อ การจัดการความเครียด จึงส่งผลต่อการป้องกันการเสพซ้ําให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลายงานวิจัยที่มี การผสมผสานการจัดการรายกรณี สัมพันธภาพบําบัด การเสริมสร้างแรงจูงใจและการปรับความคิด และพฤติกรรมเขา้ มาร่วมกันในการป้องกันการเสพ (กิตต์กวี โพธิ์โน, วรท ลําใย, ปราณี ฉันพจน์ และสุพัตรา สุขาวห, 2561; โกศล วราอัศวปติ, กิตต์กวี โพธิ์โน, นพพร ตันติรังสี และปราณี จันทะโม, 2565; Harada, Mori, Tsutomi and Wilson, 2018; AshaRani, Hombali, Seow, Ong, Tan and Subramaniam, 2020; Tran, Luong, Mihn, Dunne and Baker, 2021) นอกเหนือจากการบําบัดผู้ป่วยแล้ว จําเป็นที่ผู้ดูแลในครอบครัว ต้องได้รับการบําบัดร่วมด้วย เช่น เพื่อลดปัจจัยของอิทธิผลจากคนรอบข้างที่เป็นแรงกดดันให้ผู้ป่วยกลับไป เสพซ้ําหลังได้รับการบําบัด (สุภาภรณ์ นิยวัฒน์ชาญชัย และปัทมา ศิริเวช, 2562) ผู้ดูแลจึงได้รับการพยาบาล ด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกรูปแบบสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ทําให้ลดโอกาสการเสพซ้ําในผู้ป่วย จิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีนได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจําหน่าย 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ สรุปและข้อเสนอแนะ
การพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาล เป็นการสร้างคู่มือ “แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: รูปแบบผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน” ประกอบด้วย การจัดการรายกรณี บูรณาการร่วมกับการบําบัดทางจิตสังคมหลายรูปแบบ โดยมีผู้จัดการรายกรณีดําเนินการตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทาง คลินิก ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ช่วยป้องกันการป่วยซ้ําได้หลังจําหน่ายสัปดาห์ที่ 4 และช่วยป้องกันการเสพซ้ํา หลังจําหน่ายสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป่วยซ้ําและเสพซ้ําในผู้ป่วยจิตเภท ที่ใช้เมทแอมเฟตามีน มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. อัตราการเสพซ้ําสูงขึ้น เมื่อระยะเวลาผ่านไปหลังการทดลอง ดังนั้นเพื่อการคงอยู่ของพฤติกรรม ควรมีการ Booster หรือให้การบําบัดต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้อัตราการเสพซ้ําลดลง
2.ควรนํารูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป่วยซ้ําและเสพซ้ําในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน ไปขยายผลในสถานบริการระดับปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิที่มีผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีนในพื้นที่สุขภาพเขต 13
3. ควรพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลไปสู่การดูแลในชุมชนหลังผู้ป่วยจําหน่าย หรือ มารับ บริการแบบผู้ป่วยนอก
4. การวิจัยครั้งนี้ติดตามการเสพซ้ํา และป่วยซ้ําเพียง 4 สัปดาห์ ควรมีการศึกษาขยายการติดตามผล ระยะยาว เช่น หลังสิ้นสุดการทดลองและจําหน่าย 3, 6 หรือ 12 เดือน เพื่อศึกษาประสิทธิผล หรือความคงทน ของโปรแกรมในระยะยาว
34