Page 34 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 34
อภิปรายผล
จากวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อการพัฒนารูปแบบผสมผสานการพยาบาลต่อการป่วยซ้ําและเสพซ้ํา ในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน นํามาซึ่งการพัฒนาคู่มือ “แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก: รูปแบบ ผสมผสานการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้เมทแอมเฟตามีน” ที่มีจุดเด่นในการผสมผสานการจัดการดูแล (Care management) กับการดูแลโดยตรง (Direct care) ที่เป็นการบําบัดทางจิตสังคมหลายแนวคิดเข้า ด้วยกัน โดยแต่ละแนวคิดมีเป้าหมายแตกต่างกัน แต่ได้ผลลัพธ์ในภาพรวมที่นํามาเชื่อมต่อกันได้ใน การตอบสนองหรือยับยั้งปัจจัยการป่วยซ้ํา และการเสพซ้ํา โดยแนวคิดในรูปแบบผสมผสานการพยาบาล ประกอบด้วย การจัดการรายกรณี เน้นการดูแลอย่างเป็นระบบและสหวิชาชีพ จัดการกับปัญหาของผู้ป่วย แต่ละรายซึ่งพบปัญหาแตกต่างกัน โดยเริ่มต้นที่ สัมพันธภาพบําบัด เพื่อเป็นวิธีการเริ่มต้นให้เกิดความไว้วางใจ ค้นหาปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของการป่วยและเสพซ้ําของผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปทั้งเพื่อวางแผน การเลือกใช้รูปแบบการบําบัดที่เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่ไม่มีแรงจูงใจ จะเริ่มต้นที่การให้สุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้สารเสพติดและความรู้เรื่องโรคจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้ และตระหนักต่อปัญหา เมื่อเริ่มมีแรงจูงใจแล้วผู้ป่วยบางรายยังคงมีความลังเลใจในการเลิก ผู้วิจัยให้ การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของการเสพเมทแอมเฟตามีน และข้อดีของการเลิก เพื่อให้เกิดการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ขั้นตอนต่อมาจะใช้การปรับความคิดและ พฤติกรรม การรู้จักแยกแยะความคิด และความรู้สึก และปฏิกิริยาร่างกายที่เกิดขึ้นจากการเจอตัวกระตุ้นและ เลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งการนําสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวมาใช้ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับ ความรู้และเกิดทัศนคติที่ถูกต้องในการอยู่ร่วมกันของผู้ป่วยและวิธีการจัดการเมื่อเกิดการกลับเป็นซ้ํา ซึ่งในแต่ละ แนวคิดเป็นการใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของพยาบาลจิตเวชในการทําหน้าที่เป็นผู้จัดการรายกรณี การประสานความร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และเภสัชกร รวมไปถึงการทําหน้าที่เป็นผู้บําบัดทางจิตสังคม
รูปแบบผสมผสานการพยาบาลสอดคล้องกับหลายการวิจัยที่มีการจัดทําด้วยการผสมผสาน รูปแบบการบําบัดเพื่อป้องกันการป่วยซ้ําในผู้ป่วยจิตเภท ทั้งการผสมผสานระหว่างการจัดการรายกรณี สัมพันธภาพบําบัด ร่วมกับสุขภาพจิตศึกษา (วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, วิภาวี เผ่ากันทรากร และวีรพล อุณหรัศมี, 2561) การจัดการรายกรณีร่วมกับการปรับความคิดและพฤติกรรมอย่างสั้น (Liu, & et al. 2019) การจัดการรายกรณีกับสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว (Abu Sabra AM and Hamdan- Mansour, 2021) สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวร่วมกับรูปแบบการบําบัดอื่นๆ (Camacho-Gomez and Castellvi, 2020) รวมถึงการบําบัดแบบวิธีเดียวด้วยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการร่วมมือใช้ยา (Chien, Cheung, Mui, Gray and Ip G, 2019) ล้วนมีผลต่อการป้องกันการป่วยซ้ํา
เช่นเดียวกับการวิจัยรูปแบบการบําบัดเพื่อป้องกันการเสพซ้ําในผู้ป่วยที่ใช้เมทแอมเฟตามีน ที่เป็น การผสมผสานระหว่างการจัดการรายกรณี การปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์เพ่ือเสริมสร้าง แรงจูงใจ (Tran, Luong, Mihn, Dunne and Baker, 2021) การผสมผสานการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจ การปรับความคิดและพฤติกรรม ครอบครัวบําบัด และสุขภาพจิตศึกษาไว้ร่วมกัน (กิตต์กวี โพธิ์โน, วรท ลําใย, ปราณี ฉันพจน์ และสุพัตรา สุขาวห, 2561) การผสมผสานการสัมพันธภาพบําบัด การสัมภาษณ์ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวไว้ร่วมกัน (โกศล วราอัศวปติ, กิตต์กวี โพธิ์โน, นพพร ตันติรังสี และปราณี จันทะโม, 2565) รวมถึงการบําบัดแบบวิธีเดียวด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Harada, Mori, Tsutomi and Wilson, 2018) ล้วนมีผลต่อการป้องกันการเสพซ้ํา
32