Page 49 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 49

   ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะต่อชุมชน
การเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนคนภูไทเพื่อป้องกันยาเสพติด โดยการฟ้อนภูไท เป็นการใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถลดปัญหายาเสพติด และการจับกลุ่มมั่วสุมของเด็กและเยาวชนได้ ผู้วิจัยเห็น ว่ากิจกรรมดังกล่าวอาจจะต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระดับท้องถิ่น
หน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย โดยการให้ ความสําคัญกับชุมชนได้แสดงศักยภาพ แสดงบทบาท และกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของ ชุมชน ส่วนภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ควรหนุนเสริมให้เกิดกิจกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืน และใช้ การขับเคลื่อนกิจกรรมมาเป็นเครื่องมือในการดําเนินงานให้ประสบผลสําเร็จต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะต่อการวิจัยครั้งต่อไป
ในการดําเนินการวิจัยครั้งต่อไปควรใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และขยายผลของ กิจกรรมไปยังชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ ใจอารีย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ ตันพิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร์ ยิ่งยวด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรฉัตร์ สุปัญโญ คณาจารย์ภาควิชา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ครอบครัว HCRD ตัวแทนชุมชน เด็กและเยาวชนชุมชนหนองช้าง ผู้อํานวยการฯ รองผู้อํานวยการกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล คณะกรรมการ รับรองจริยธรรมการวิจัยในคน พี่น้องในสถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี บิดา มารดา ครอบครัวสุปัญบุตร และครอบครัวจานแก้ว และกัลยาณมิตรทุกคนที่คอยเป็นกําลังใจ คอยอยู่เคียงข้าง คอยผลักดัน คอยให้กําลังใจ จนกระทั่งประสบความสําเร็จ
เอกสารอ้างอิง
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2541). คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสําหรับครู. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คะนอง พิลุน. (2557). การพัฒนารูปแบบการป้องกันยาเสพติดโดยประชาชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านฮองฮี ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการ มหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หน้า 211-220.
ชวันรัตน์ เสถียรกติ ติ์ธนา. (2559). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตแบบบูรณาการโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ต่อพลังต้านการเสพยาบ้าของผู้เสพยาบ้าที่ได้รับการบําบัดในระยะฟื้นฟูสภาพ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิฐภัทร บวรชัย. (2555).
 การพัฒนาหลักสูตรเสริมการสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด สําหรับ
 นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
 ดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
47

















































































   47   48   49   50   51