Page 48 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 48

   เป็นต้น แก่ผู้มาเยี่ยมชม และ 4) เครือข่าย องค์กรพัฒนาภาครัฐและเอกชนต่างๆ ซึ่งการนําทุนชุมชนที่มีอยู่มา ใช้อย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะส่งผลดีต่อชุมชนเป็นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทุนทาง สังคมของ Kretzmznn & McKnight (1993) Haines (2009) Ferguson & Dickens (1999) Green & Haines (2007) Apichart Jai-aree. (2022) ที่กล่าวว่า ทุนชุมชนเป็นสิ่งดีงามในชุมชนทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ที่เกิดจากการสั่งสมมาอย่างยาวนานของคนในชุมชน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันร่วมคิด ร่วมทํา ทั้งในส่วนที่ได้ จากการสั่งสมและในส่วนที่ต่อยอด รวมถึงการรวมตัวของคนในชุมชน เพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม ทําให้ ชุมชนสามารถดํารงอยู่ได้ มีความรักความผูกพันกัน มีความสามัคคี และเป็นหนึ่งเดียวกัน และสอดคล้องกับ วุฒิชาติ ทอนศรี (2556) ได้ศึกษาทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน ชุมชน ในชุมชนบ้านพลวง ตําบลบ้านพลวง อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชนนั้นชุมชนไม่สามารถพึ่งพาระบบการดําเนินงาน ของภาครัฐเพียงด้านเดียวได้ การสั่งการของผู้นําทางการในชุมชน และระบบประเพณี วัฒนธรรมชุมชนเข้า ด้วยกันโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และสร้างรูปแบบกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดได้ ซึ่งระบบวัฒนธรรมชุมชนที่สามารถนํามาสร้างแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ นั้น จําเป็นต้องอาศัยเครือข่ายทางสังคม การพึ่งพาอาศัย การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการติดต่อสื่อสาร โดยส่วนมากจะยังคงอยู่ในกลุ่มระบบเครือญาติ ระบบผู้นําทางธรรมชาติ ผู้อาวุโสในชุมชน และวัฒนธรรมความเชื่อ ของคนในชุมชน
แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนคนภูไทโดยใช้ทุนชุมชนเป็นฐาน เพื่อป้องกันยาเสพติด ชุมชนหนองช้าง อําเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ คนส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตเด็ก และเยาวชนคนภูไทฯ ที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดคือ การใช้หลายแนวทางรวมกัน ควรจะใช้วิธีการ บูรณาการแนวทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนคนภูไทฯ โดยใช้ทุนเครือข่าย/ทุนมนุษย์ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติด และทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด ทุนทางวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางสถาบัน และการมีส่วนร่วมของชุมชน สอดคล้องกับ คะนอง พิลุน (2557) รูปแบบในการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยนําแนวคิดที่เป็นรูปแบบทั้งภาครัฐและภาคประชาชนมาผสมผสาน และพัฒนาเป็นรูปแบบของชุมชนในการป้องกันยาเสพติดสอดคล้องกับ วรพล นาหนองตูม (2562) ทุนทางสังคมมีลักษณะเป็นทุนที่ยึดติดอยู่ในโครงสร้างสังคมในชุมชน ประเภททุนมนุษย์ ทําหน้าที่นําความรู้ ประสบการณ์มาแก้ไขปัญหายาเสพติด ประเภททุนทางสังคมในสถาบัน ได้แก่ ทุนทางสังคมในครอบครัว ทําหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ทุนทางสังคมในชุมชน ทําหน้าที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันร่วมแรงร่วมใจกัน ในการต่อต้านยาเสพติด ทุนทางสังคมในโครงสร้าง ทําหน้าที่สร้างวิถีชุมชนบนแบบแผนที่ดีในการดําเนินชีวิต ให้ห่างไกลยาเสพติด ประเภททุนทางปัญญาและวัฒนธรรม ทําหน้าที่สร้างความกลมเกลียว หลอมรวมความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชนให้มีวิถีชีวิตที่ดีงาม จะเห็นได้ว่าทุนทางสังคมได้ผสมผสานนําไปสู่ การจัดการตนเองของชุมชนด้านยาเสพติดทั้งนั้น ชุมชนจัดการตนเองด้านยาเสพติดได้รับอิทธิพลทางตรง จากทุนทางสังคมในครอบครัว รูปแบบการส่งเสริมทุนทางสังคมสู่ชุมชนจัดการตนเองด้านยาเสพติด จําเป็นต้องอาศัยทุนทางสังคมในครอบครัว ทุนทางสังคมในชุมชน ทุนทางสังคมในโครงสร้าง ทุนทางปัญญา และวัฒนธรรมโดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมาชิกในครอบครัว
46
































































































   46   47   48   49   50