Page 62 - หนังสืออิเล็คทรอนิกส์-ภูมินามอำเภอบ้านแพง
P. 62

พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ลาดเอียง นิยมปลูกเศรษฐกิจยืนต้น ได้แก่ ยางพารา ส่วนพื้นท  ี่

                                                       ่
                          ลุ่มจะทำนาข้าว และเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เชน วัว ควาย แต่เมื่อฤดูฝนมักจะเกิดน้ำท่วม เนื่องจากใกล้ลำ
                          น้ำทเป็นทางผ่านของน้ำลงไปยังแม่น้ำโขง เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศแห่งนี้มีเป็นทางดอน
                           ี่
                          คือ เป็นเนินอยู่มากในหมู่บ้าน จึงเป็นเหตที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านดอนกลาง
                                                         ุ
                          มาจนถึงปัจจุบัน

                                     พบข้อสังเกต ในการตั้งชื่อภูมินามตามลักษณะภูมิประเทศ เห็นได้จากสภาพพื้นท ี่

                       ภายในบริเวณของหมู่บ้าน ได้แก่ มีโนนดินสูง และมีดอนตรงกลางหมู่บ้าน เป็นต้น



                               13. ภูมินามที่ตั้งชื่อตามสัตว์ที่มีเกี่ยวข้องและตั้งชื่อตามคำบอกเล่า นิทาน หรือตำนาน

                                  ในตำบลหนองแวง มีหมู่บ้านที่ตั้งชื่อตามสตว์ที่มีเกี่ยวข้องและตั้งชื่อตามคำบอกเล่า
                                                                    ั
                       นิทาน หรือตำนาน 2 หมู่บ้าน ได้แก่  บ้านคำนกกก และบ้านนากระแต  ้

                                     13.1  บ้านคำนกกก





















                                                 (ที่มา: https://th.wikipedia.org.th)

                                            บ้านคำนกกก หมู่ที่ 1 เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ในตำบลหนองแวง ก่อตั้งหมู่บ้าน

                       ประมาณ 300 กว่าปีมาแล้ว ในอดีตหมู่บ้านนี้มีนกชนิดหนึ่ง ตัวโตคล้ายเป็ดเทศ อาศัยอยู่ในดงลำภู

                       อยู่เป็นจำนวนมาก ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านนกตัวนี้มีจงอยปากสีทอง ทำให้คนสมัยก่อนนั้นคิดว่า

                       เป็นทองคำ และนกตัวนี้จะเป็นจ่าฝูงเมื่อนกตัวนี้บินไปทางไหนจะมีนกตัวอื่น ๆ บินตามหลังไปด้วย

                       ทำให้คนในสมัยนั้นนั้นอยากเป็นเจ้าของนกตัวนี้ แต่ก็ไม่มีใครจับได้ จึงเล่าขานว่าเป็นนกวิเศษชาวบ้าน

                       จึงเรียกชื่อนกตัวนี้ว่า นกกกคำ  จึงเป็นมูลเหตุของการตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านนกกกคำ มีชาวบ้าน
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67