Page 106 - รวมเล่มข้อบังคับ ระเบียบ 2566
P. 106
100
7
ข้อ 17 ประเภทแห่งเงินกู้ สหกรณ์อาจให้เงินกู้แก่สมาชิก ได้ตามประเภทดังต่อไปนี้
(1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิก มีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันจำเป็นรีบด่วน และมีความประสงค์
ขอกู้เงิน คณะกรรมการดำเนินการอาจให้เงินกู้เพื่อเหตุนั้นได้ตามระเบียบของสหกรณ์
(2) เงินกู้สามัญ ในกรณีที่สมาชิกมีความประสงค์ขอกู้เงินสำหรับใช้จ่ายเงินเพื่อการอันจำเป็น หรือมี
ประโยชน์ต่าง ๆ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกนั้นได้ตามระเบียบ
ของสหกรณ์
(3) เงินกู้พิเศษ เมื่อสหกรณ์มีฐานะการเงินก้าวหน้าพอที่จะช่วยเหลือให้เงินกู้ เพื่อส่งเสริมฐานะความ
มั่นคงหรือเพื่อการเคหะ หรือก่อประโยชน์งอกเงยแก่สมาชิกได้ คณะกรรมการดำเนินการอาจให้
เงินกู้พเศษแก่สมาชิกนั้นได้ ตามที่เห็นสมควร โดยผู้ขอกู้ต้องระบุความมุ่งหมายแต่ละอย่างของเงินกู้
ิ
ประเภทนี้ ตลอดจนเงื่อนไขและวิธีการและต้องมีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของ
สหกรณ์
ข้อ 18 ดอกเบี้ยเงินกู้ ให้สหกรณ์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทที่ให้แก่สมาชิก สมาชิกสมทบหรือสหกรณ์อื่นใน
อัตราตามที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์
ข้อ 19 การควบคุมหลักประกันและการเรียกคืนเงินกู้ ให้คณะกรรมการดำเนินการตรวจตราควบคุมให้เงินกู้ทุก
รายมีหลักประกันตามที่กำหนดในระเบียบของสหกรณ์ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้ราย
ใดเกิดบกพร่อง ผู้กู้จะต้องจัดการแก้ไขให้คืนดีภายในระยะ เวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
ื
ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถอว่าเงินกู้ประเภทใด ๆ เป็นอันถึงกำหนดชำระคืนโดยสิ้นเชิงพร้อมทั้ง
ดอกเบี้ยในทันที โดยมิพักต้องคำนึงถึงกำหนดเวลาที่ให้ไว้ และให้คณะกรรมการดำเนินการจัดการเรียกคืนโดยมิชักชา
้
(1) เมื่อสมาชิกผู้กู้ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ
(2) เมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการว่าผู้กู้นำเงินกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
(3) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงนกู้รายใดเกิดบกพร่องและผู้กู้มิได้จัดการ
ิ
แก้ไขให้คืนดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
(4) เมื่อสมาชิก หรือสหกรณ์อื่นผู้กู้ค้างชำระเงินงวดชำระหนี้ ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นเวลาถึงสอง
งวดติดต่อกัน หรือผิดนัดการชำระเงินงวดชำระหนี้ดังว่านั้นถึงสามคราวสำหรับเงนกู้รายหนึ่งๆ
ิ
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบชำระหนี้แทนผู้กู้เพราะเหตุใด ๆ ตามวรรคสอง และไม่สามารถชำระหนี้นั้น
โดยสิ้นเชิงได้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ คณะกรรมการดำเนินการอาจผ่อนผันให้ผู้ค้ำประกันชำระเป็นงวดรายเดือนจนครบ
ั้
จำนวนเงินตามที่ผู้กู้ได้ทำหนังสือให้ไว้ต่อสหกรณ์ก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนงวดสำหรับเงินกู้ประเภทนน ๆ
ข้อ 20 ความผูกพันของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ผู้กู้ หรือผู้ค้ำประกันต้องรับผูกพันว่าถ้าตนประสงค์จะขอโอน หรือ
ย้าย หรือลาออกจากราชการ หรืองานประจำตามข้อ 35 (3) จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้สหกรณ์ทราบและจัดการชำระหนี้ซึ่งตน
มีอยู่ต่อสหกรณ์ให้เสร็จสิ้นก่อน เว้นแต่ในกรณีที่ยังคงเป็นสมาชิกอยู่ตามข้อ 46
การฝาก หรือการลงทุนของสหกรณ ์
ข้อ 21 การฝากหรือการลงทุนของสหกรณ์ เงินของสหกรณ์นั้น สหกรณ์อาจฝากหรือลงทุนได้ตามที่กำหนดไว้ใน
วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนดภายใต้บังคับแห่งบทบญญัติใน
ั
์
พระราชบัญญัติสหกรณ์ โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงและประโยชนสูงสุดที่สหกรณ์หรือสมาชิกจะได้รับ
การเงินและการบัญชีของสหกรณ ์
ข้อ 22 การเงินของสหกรณ์ การรับ จ่าย และเก็บรักษาเงินของสหกรณ์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการ
ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์
ข้อ 23 การบัญชีและงบการเงินของสหกรณ์ ให้สหกรณ์จัดทำบัญชีตามแบบและรายการที่นายทะเบียนสหกรณ์
กำหนด ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และเก็บรักษาบัญชีพร้อมด้วยเอกสารการลงบัญชีไว้ทสำนักงานสหกรณ์เป็นระยะเวลา
ี่
ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
การบันทึกรายการในบัญชีเกี่ยวกับกระแสเงินสด ให้บันทึกรายการในวันเกิดเหตุนั้น สำหรับเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ
กระแสเงินสดให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีภายในสามวัน นับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องบันทกรายการนั้น และการลงบัญชีต้องมี
ึ
เอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน
ให้สหกรณ์จัดทำงบการเงินประจำปีทุกรอบปีทางบัญชีของสหกรณ์ ซึ่งงบการเงินประจำปีต้องเป็นไปตามแบบที่นาย
ทะเบียนกำหนด