Page 163 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26
P. 163
151
5.3 แผนงาน โครงการ งบประมาณ
(1) แผนงาน
โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You) คือ
การสร้าง เครื่องมือและช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อนำมาใช้ประกอบการ
ปฏิบัติงานตรวจสอบ ภายในของกรุงเทพมหานคร เป็นโครงสร้างที่สนับสนุนกลยุทธ์ “การยกระดับ
บริการของกรุงเทพมหานครผ่านการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชน” ซง่ึผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มที่ 5
ของหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26 จะขอบรรจุเพิ่มเติมไว้ในวิสัยทัศน์ ด้านที่ 5
มหานครประชาธิปไตย มิติที่ 5.2 เมืองธรรมาภิบาล และสอดคล้อง กับภารกิจและวิสัยทัศน์ของ
สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(2) โครงการและงบประมาณ
โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You)
๑. ความสำคัญและที่มาของแนวคิด
กรุงเทพมหานครมุ่งสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๗๕ โดยมี
แผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) เปน็เครื่องมือสำคัญในการแก้ไข
ปัญหาและพัฒนาเมือง ให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยแบ่งการพัฒนาเมืองออกเป็น ๕ ด้าน ได้แก่
มหานครปลอดภัย มหานครสีเขียว สะดวกสบาย มหานครสำหรับทุกคน มหานครกระชับ มหานคร
ประชาธิปไตยและมหานครแห่งเศรษฐกิจและ การเรียน รวมทั้งแบ่งระยะเวลาการพัฒนาออกเป็น
๔ ระยะ ระยะ ๕ ปี
สำหรับมหานครประชาธิปไตย กรุงเทพมหานครต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองประชาธิปไตย
้
และมีธรรมาภิบาล เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์อย่างเขมแขง โดยใน
็
แผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนามหานคร
ประชาธิปไตย ไว้ ๕ มิติ มิติหนึ่ง ในนั้น คือ เมืองธรรมาภิบาล โดยกำหนดเป้าหมายว่า “ประชาชน
กรุงเทพฯมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและ ตรวจสอบการทำงานของกรุงเทพมหานครโดยการใช้
ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม” ซึ่งในรายงานสรุปผล การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รอบครึ่งปีงบประมาณ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓)
สรุปผลการดำเนินงานเกี่ยวกับมิติที่ ๕.๒ เมืองธรรมาภิบาล (มี ๑ เป้าหมาย ๒ เป้าประสงค์ ๔ ตัวชี้วัด
๗ โครงการ รวมงบประมาณที่ได้รับ ๑๙,๒๒๘,๓๐๐.- บาท) ว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย ทั้งหมดอยู่
ระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้ เมื่อสอบทานรายละเอียดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดผลการดำเนินการและ
โครงการ พบว่า กิจกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดเวทีให้ชุมชนเสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่
เพื่อกำหนด นโยบายในการพัฒนาเขตและร้อยละของชุมชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครที่จัดทำ
แผนพัฒนาชุมชน รวมทั้ง สำนักงานเขตที่นำแผนพัฒนาชุมชนไปบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปี สำหรับเป้าหมายเกี่ยวกับเพิ่ม บทบาทของพลเมืองกรุงเทพฯ ในการขับเคลื่อนการพัฒนา