Page 31 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26
P. 31
20
๘.๑.๔ ปรับปรุงรูปแบบการปฏิบัติงานตรวจเฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่เทศกิจ
๑) โดยเพิ่มช่วงเวลาและระยะเวลาในการตรวจสอบเฝ้าระวังในแต่
ละจุดเสี่ยงให้โดยเพิ่มจากเวลาการตรวจ ๕ - ๑๐ นาทีเป็น ๑๕ -๓๐ นาที
๒) เพิ่มความถี่ในการตรวจ โดยสับเปลี่ยนช่วงเวลาในการตรวจ
ของแต่ละวัน เพื่อให้ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่อาจเกิดเหตุอาชญากรรม โดยดูจากสถิติการก่อเหตุ
อาชญากรรมของสถานีตำรวจนคร บาลท้องที่
๘.๑.๕ จัดหาเครือข่ายร่วมในการตรวจเฝ้าระวังในพื้นที่
๑) กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเป็นเครือข่ายร่วมตรวจเฝ้าระวัง
๒) ประชาสัมพันธ์และประกาศรับสมัคร
๓) พิจารณาคัดเลือกเครือข่าย
๔) ปฐมนิเทศและเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานตรวจเฝ้าระวัง
๕) ประเมินผลการปฏิบัติงานของเครือข่าย
๘.๒ พื้นที่จุดเสี่ยงใหม่
เสนอเพิ่มจุดเสี่ยง กำหนดแนวทางและดำเนินการจัดการจุดเสี่ยงใหม่
๑) พิจารณานำข้อมูลจุดเสี่ยงของสถานีตำรวจที่แตกต่างจากจุดเสี่ยงเดิม มาใช้
ประกอบการ ตัดสินใจเพิ่มจุดเสี่ยง
๒) จัดทีมประเมินสภาพจุดเสี่ยง เพื่อประกอบการตัดสินใจปรับปรุงภูมิทัศน์หรือ
ปรับปรุงทาง กายภาพ
๓) วางแผนการติดตั้งอุปกรณ์ ได้แก่ ไฟฟ้าส่องสว่าง กล้องโทรทัศน์วงจรปิด ป้าย
เตือน เป็นต้น และวางแผนในการปรับปรุงภูมิทัศน์หรือปรับปรุงทางกายภาพ
๔) ดำเนินการตามแผน
๕) จัดทีมตรวจสอบและเฝ้าระวังพื้นที่
๙. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๓ -กันยายน ๒๕๖๔ รายละเอียดดังตารางที่ 1.๑๐