Page 97 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26
P. 97

85






                       และสถานภาพอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคสมานฉันท์ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
                       ได้รับโอกาสที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเองและเข้าถึงบริการสาธารณะ ใน ขณะเดียวกันชาว
                       กรุงเทพมหานครแต่ละกลุ่ม แต่ละชุมชนสามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ประเพณีวัฒนธรรม ของ

                       ตนเอง เป็นมหานครที่โดดเด่นทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
                                     ทั้งนี้ การที่จะให้ชาวกรุงเทพมหานครทุกคน ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย

                       ได้รับโอกาสที่จะ เรียนรู้พัฒนาตนเองและเข้าถึงบริการสาธารณะได้นั้น ปัจจัยสำคัญคือการเข้าถึง
                       ข้อมูลข่าวสาร หรือองค์ความรู้ ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษาตาม

                       อัธยาศัย หรือการเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง โดยในปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้บริหารจัดการด้าน
                                          ื่
                       การศึกษาและเรียนรู้เพอตอบสนองภารกิจด้านการจัด การศึกษาและเรียนรู้ผ่านทางโรงเรียนในสังกัด
                       โรงเรียนฝึกอาชีพ สำหรับผู้ที่มีเวลาและความพร้อม และจำเป็นต้อง เข้าศึกษาในระบบ ตลอดจน
                       เตรียมพร้อมสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ใน หลายช่องทาง
                       ไม่ว่าจะเป็น สื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งมีการให้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สำหรับประชาชนที่

                       ต้องการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นบุคคลนอกระบบการศึกษาที่มีอยู่จำนวนมาก และส่วนใหญ่
                       เป็นกลุ่มคน ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากอยู่ในวัยทำงานซึ่งถือเป็นกลุ่มบุคคลที่

                       น่าสนใจสำหรับการเรียนรู้ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง
                                     ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 36 แห่ง ทั่ว

                       พื้นที่ กรุงเทพมหานคร และมีบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ จำนวน 7 คัน ซึ่งบริหารและจัดการสำนัก
                       วัฒนธรรม กีฬา และ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีหน้าที่เป็น

                       ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ เกี่ยวกับ การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษา
                                                                                         ี่
                       ศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าและ เอกลักษณ์ทดีของความเป็นไทย
                                                                                                        ื่
                       ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา นันทนาการ ห้องสมุด เพอ
                       คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทาง ศิลปะและ
                       วัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ วิจัยปัญหา

                       แนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านดนตรี กีฬา นันทนาการ ห้องสมุด การท่องเที่ยว ศิลปะ
                       และวัฒนธรรม ซึ่งห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ทั้ง 36 แห่ง นี่เองถือเป็นช่องทางหลักในการให้ประชาชน
                       เข้าถึงข้อมูลข่างสาร และองค์ ความรู้ต่างๆ ในการพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องเข้าเรียนและศึกษาใน

                       ระบบ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร จึงเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในการค้นคว้าหา
                       ความรู้ ทั้งในระบบและนอกระบบ และส่งเสริม การจัดกิจกรรมเพื่อการศึกษา และวัฒนธรรมแก่

                       ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย โดยเปิดให้บริการ สารสนเทศทุกประเภท ยังผลให้มีส่วนสำคัญในการ
                       ส่งเสริมให้ ประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิต

                       นำ ไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ “ มหานคร
                       สำหรับทุก คน” อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในวัน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102