Page 182 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 182
๗. งบประมาณที่ใช้
7.1 การพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน (We Hear
You) ใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบ จำนวน 1,000,000.- บาท
7.2 การพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วน
ร่วม ใช้งบประมาณ จำนวน 500,000.- บาท
7.3 การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับการให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมใน การตรวจสอบ ใช้งบประมาณจำนวน 500,000.- บาท
7.4 การพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบอย่างยั่งยืน ไม่ใช้
งบประมาณ งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในการดำเนินการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,000,000.- บาท (สอง
ล้านบาทถ้วน)
๘. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 กรุงเทพมหานครมีระบบการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากประชาชน ซึ่งจะช่วย
เสริมสร้างความ เข้มแข็งให้ระบบการตรวจสอบในภาพรวมของกรุงเทพมหานครด้วย
8.2 กรุงเทพมหานครใช้ทรัพยากรในการตรวจสอบได้คุ้มค่ามากขึ้น โดยตรวจสอบในสิ่งที่
ประชาชน ต้องการ 8.3. หนว่ยงานต่าง ๆ ได้ปรับปรุงหรือพัฒนาการปฏิบัติงาน ทำให้
ประชาชนได้รับบริการที่ดี
8.4 เสริมสร้างภาพลักษณ์การเป็นเมืองประชาธิปไตย และความน่าเชื่อถือที่มีต่อสาธารณะ
ซึ่งอาจจะมี ส่วนช่วยลดการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่น
๙. แนวทางติดตามประเมินผล
9.1 สอบทานผลการประเมินความโปร่งใสกรุงเทพมหานครจากองค์กรต่าง ๆ
9.2 ประเมินระดับความพึงพอใจต่อการบริการของกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบก่อนและ
หลังที่การ พัฒนาระบบการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม
9.3 ประเมินการใช้งานของระบบสารสนเทศการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม โดยประเมินผล
ใน 3 ประเด็น คือ การรักษาความลับของระบบ (Confidentiality), ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของ
ข้อมูลในระบบ สารสนเทศ (Integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบ (Availability)
9.4 ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในตามแผนการตรวจสอบแบบมีส่วน
ร่วม ทั้งใน ด้านการนำประเด็นความคิดเห็นมาบรรจุไว้ในแผนการตรวจสอบประจำปี การปฏิบัติงาน
ตามแผน การรายงาน ผลการตรวจสอบต่อสาธารณะ
9.5 ติดตามระดับความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนางานตามข้อเสนอแนะของ
สำนักงาน ตรวจสอบภายใน