Page 60 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 60

49






                                         มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรที่องค์การอนามัยโลก
                       ระบุว่า เมืองที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ย 9 ตารางเมตร/คน กรุงเทพมหานครดำเนินการเพิ่มพื้นที่สี
                       เขียวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี  โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เมืองมีความสวยงาม ร่มรื่น น่ามอง
                       โดยเฉพาะบริเวณถนนสายสำคัญ สถานที่สำคัญ เพื่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็นและ

                       นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินการปรับปรุงสวนสาธารณะ และดำเนินการตกแต่ง
                       เมืองด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ในถนนและสถานที่สำคัญ และงานราชพิธีต่าง ๆ ฯลฯ ในการดำเนินการ
                       อาจพบกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเพื่อจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ/
                       สวนหย่อม หรือปรับปรุงเป็นพื้นที่สีเขียว เนื่องจากพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครมีราคาค่อนข้างสูง

                       นอกจากนี้พื้นที่ว่างที่สำรวจพบหากเป็นพื้นที่ของภาคเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ประสงค์ให้
                       กรุงเทพมหานครเข้าไปดำเนินการใด ๆ อีกทั้งพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิมอาจลดลงจากการพัฒนาเมือง
                       การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน การขยายถนน การก่อสร้างรถไฟฟ้า การจัดสร้างลาน     จอดรถ ฯลฯ
                                         สำนักงานเขตดอนเมืองมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 36.803 ตารางกิโลเมตร

                       ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อมพบว่า พื้นที่สีเขียวในสำนักงานเขตดอนเมือง ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2563
                       มีจำนวน 381 ไร่ (609,600 ตางเมตร) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร 3.578 ตารางเมตร/คน
                       (คำนวณจาก 609,600/170,397) โดยสภาพทั่วไปของสำนักงานเขตดอนเมืองเป็นที่ลุ่มต่ำ มัก

                       เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะมีคลองหลักอยู่
                       หลายสาย แต่ก็ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคูนายกิมสาย 2 มีความยาวประมาณ
                       2.4 กิโลเมตร และมีความกว้าง 8 - 30 เมตร เป็นคลองหลักที่เชื่อมระหว่างกรมสื่อสารทหารจนถึง
                       คลองเปรมประชากร มีบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่งคลอง แต่เนื่องจากการบุกรุกที่
                       สาธารณะริมคูนายกิมสาย 2 เป็นจำนวน 101 หลังคาเรือน ทำให้ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

                       ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างปัญหาและความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อยู่อาศัย
                       บริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมาก ปัจจุบันได้มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของผู้ที่รุกล้ำเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ ปี
                       2560 แต่ยังมิได้มีการพัฒนาพื้นที่หรือใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                                         และจากการที่ผู้ศึกษาได้สำรวจพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นประเด็นปัญหาและ
                       ข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่พบว่า ประชาชนมีความต้องการให้พัฒนาพื้นที่บริเวณคูนาย
                       กิมสาย 2 ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวและพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ สถานที่

                                                                                          ื่
                       พักผ่อนและลานกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเขื่อน การสร้างประตูระบายน้ำเพอป้องกันปัญหาน้ำ
                       ท่วม ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบไฟฟ้าสาธารณะ

                       เป็นต้น และโครงการนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ด้านมหานครสีเขียว
                       สะดวกสบาย

                                  วิธีการศึกษาสภาพปัญหา
                                          พื้นที่สำนักงานเขตดอนเมืองมีผู้บุกรุกที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก จากข้อมูล
                       รายงานการ บุกรุกที่ดินในพื้นที่เขตดอนเมือง ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 มีผู้บุกรุกคูคลอง

                       สาธารณะ จำนวน 5 แห่ง 2,501 ราย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65