Page 146 - โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน
P. 146
47
บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน
5.1 สรุปผลการดำเนินงาน
โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน ภายใต้โครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม เพื่อ
ี
ป้องกันการแพร่กระจายดินเค็ม ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ 87,436 ไร่ มีรายละเอยด
โดยสรุปได้ดังนี้
5.1.1 ข้อมูลลักษณะแปลงที่ดิน
ดำเนินการสำรวจฯ ในพื้นที่ 4 อำเภอ 13 ตำบล รวมเนื้อที่ 87,436 ไร่ ได้แก่ อำเภอโนนศิลา
จำนวน 4 ตำบล อำเภอชนบท จำนวน 5 ตำบล อำเภอพล จำนวน 3 ตำบล อำเภอบ้านไผ่ 1 ตำบล
การถือครองที่ดินของเกษตรกรในพื้นที่ พบว่า มีแปลงถือครองที่ดินทางการเกษตร รวมเนื้อที่ 77,148 ไร่
จำนวน ๑0,8๒1 แปลง (ร้อยละ 88.23) พื้นที่นอกการเกษตร ได้แก่ ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน
ฯลฯ เนื้อที่ 10,288 ไร่ จำนวน ๗,๕59 แปลง (ร้อยละ 11.77)
การสำรวจแปลงถือครองที่ดินโดยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกร มีเกษตรกรมาให้ข้อมูล
จำนวน 2,365 แปลง (ร้อยละ 21.86 จากทั้งหมด 10,821 แปลง) พบว่า เกษตรกรถือเอกสารสิทธิ
ประเภทโฉนดที่ดิน จำนวน 2,191 แปลง (ร้อยละ 92.64) ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 119 แปลง (ร้อยละ 5.03)
น.ส. 3 ก. จำนวน 55 แปลง (ร้อยละ 2.33) โดยแบ่งออกเป็น เจ้าของที่ดิน จำนวน 1,785 แปลง
(ร้อยละ 75.48) ญาติ/เข้าทำเปล่า จำนวน 546 แปลง (ร้อยละ 23.08) และเช่า จำนวน 34 แปลง
(ร้อยละ 1.44) สัดส่วนขนาดของแปลงที่ดินที่พบในพื้นที่ดำเนินงาน แบ่งออกเป็น แปลงที่ดินที่มีขนาด
น้อยกว่า 1 ไร่ จำนวน 984 แปลง (ร้อยละ 9.09) แปลงที่ดินขนาด 1 - 5 ไร่ จำนวน 4,126 แปลง
(ร้อยละ 38.13) แปลงที่ดินมีขนาด 5 - 10 ไร่ จำนวน 3,368 แปลง (ร้อยละ 31.13) แปลงที่ดินที่มีขนาด
10 - 20 ไร่ จำนวน 1,895 แปลง (ร้อยละ 17.51) แปลงที่ดินที่มีขนาด 20 - 50 ไร่ จำนวน 416 แปลง
(ร้อยละ 3.84) และมากกว่า 50 ไร่ จำนวน 32 แปลง (ร้อยละ 0.30)
5.1.2 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 7, 17, 18, 20, 22, 24, 36, 37,
40, 41 และกลุ่มชุดดินที่ ๕๕ จากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า ส่วนใหญ่จะเป็น
กลุ่มชุดดินที่ 40 และ 55 ซึ่งอยู่ในอำเภอโนนศิลา อำเภอชนบท อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และกลุ่ม
ชุดดินที่ 20 และ 37 ซึ่งกระจายอยู่ในอำเภอโนนศิลา อำเภอชนบท อำเภอบ้านไผ่
การใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรจากการสัมภาษณ์ พบว่า เกษตรกรมีการทำนา มากที่สุด
จำนวน 2,202 แปลง (ร้อยละ 93.11) รองลงมา คือ ไร่นาสวนผสม จำนวน 58 แปลง (ร้อยละ 2.45)
ปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 54 แปลง (ร้อยละ 2.28) นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่น ๆ เช่น ปลูก
อ้อย จำนวน 25 แปลง (ร้อยละ 1.06) เลี้ยงสัตว์ จำนวน 12 แปลง (ร้อยละ 0.51) ไม้ยืนต้น จำนวน 5 แปลง
(ร้อยละ 0.21) พืชสวน จำนวน 3 แปลง (ร้อยละ 0.13) ไม้ผล จำนวน 2 แปลง (ร้อยละ 0.08) การใช้น้ำด้าน
เกษตรกรรมของเกษตร พบว่า เกษตรกรใช้น้ำจากฝนอย่างเดียวมากที่สุด จำนวน 2,112 แปลง (ร้อยละ
89.30) รองลงมาเป็น การใช้น้ำจากบ่อ/สระขุดเอง จำนวน 462 แปลง (ร้อยละ 19.53) ใช้น้ำจาก
แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน 127 แปลง (ร้อยละ 5.37) และแหล่งน้ำอื่น ๆ (บาดาล ชลประทาน โซล่าเซลส์)
จำนวน 195 แปลง (ร้อยละ 8.25) การใช้ปุ๋ยในการเพาะปลูกเกษตรกร มีการใช้ปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยอินทรีย์