Page 115 - ทักษะการเรียนรู้ ประถม
P. 115
106
และระบบการเกษตรกรรมนี้เองได้เป็นที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน
ประเพณีลงแขกและการละเล่นเต้นก าร าเคียว เป็นต้น
5. ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ หมายถึง เป็นการน าศักยภาพของแต่ละบุคคล
ในแต่ละพื้นที่มาใช้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคลเกิดทัศนคติที่ดี
ต่อองค์การ ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ เมื่อพิจารณาถึง
ทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะภูมิปัญญาไทย แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะ
หลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นการรู้จัก
น าเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ท าให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว
การรู้จักท าการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูก
ท าลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก
จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่น กลุ่มออมทรัพย์
คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน
จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ศักยภาพมีความส าคัญและจ าเป็นต่อการพัฒนาอาชีพให้เข้มแข็งมาก
หากได้วิเคราะห์แยกแยะศักยภาพของตนเองอย่างรอบด้าน ปัจจัยภายในตัวตนผู้ประกอบการ ปัจจัย
ภายนอกของผู้ประกอบการ โอกาสและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจการค้า ยิ่งวิเคราะห์ได้มากและ
ถูกต้องแม่นย ามาก จะท าให้ผู้ประกอบการรู้จักตนเอง อาชีพของตนเองได้ดียิ่งขึ้นเหมือนค ากล่าว รู้เขา
รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะทั้งร้อยครั้ง
เรื่องที่ 3 ตัวอย่างอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพหลักของพื้นที่
1. กลุ่มอาชีพใหม่ด้านเกษตรกรรม
กลุ่มการผลิต เช่น การผลิตไม้ดอกเพื่อการค้า การผลิตปุ๋ ยอินทรีย์ การผลิตไก่อินทรีย์
กลุ่มแปรรูป เช่น การแปรรูปปลานิลแดดเดียว การแปรรูปท าไส้กรอกจากปลาดุก
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การเกษตรแบบยั่งยืน การเกษตรผสมผสานตามแนวทาง
เกษตรทฤษฎีใหม่และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
การฝึกอบรมเกษตรทางเลือก ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง