Page 22 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 22

14




                       ทำนบหินปูน (rimstone) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่สะสมตัวบริเวณพื้นถ้ำที่มีลักษณะ
               ลาดเอียง แถบของตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจะเกิดบริเวณพื้นถ้ำที่มีการเปลี่ยนความลาดเอียงแบบ

               ฉับพลัน ทำนบหินปูนค่อยๆ ก่อตัวสูงขึ้นในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางการไหลของน้ำ ความสูงของทำนบ
               หินปูนมักขึ้นกับปริมาณน้ำล้นข้ามทำนบหินปูน ในขณะที่น้ำกำลังล้นข้ามทำนบหินปูน ตะกอนแคลเซียม
               คาร์บอเนตก็จะก่อตัวขึ้นบริเวณตอนบนสุดของทำนบหินปูน เพื่อกั้นไม่ให้น้ำข้ามล้นออกไป ทำนบหินปูน
               มักมีการพัฒนาสูงขึ้นในช่วงฤดูฝน (รูปที่ 2.11)

                       ไข่มุกถ้ำ (cave pearl) คือ ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นเม็ดกลมผิวเรียบ ลักษณะผิวมัน

               มักพบในแอ่งน้ำที่มีน้ำหยด เกิดจากการพอกตัวของตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตรอบๆ นิวเคลียส เช่น
               ก้อนกรวดขนาดเล็ก เม็ดทราย เป็นต้น เมื่อน้ำในแอ่งระเหยไป แอ่งน้ำที่เหลืออยู่จะมีความเข้มข้นมากขึ้น
               ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตในแอ่งน้ำก็พร้อมที่จะก่อตัว หยดน้ำที่ตกลงมาในแอ่งน้ำจะสร้างคลื่นทำให้
               เม็ดทรายหรือเม็ดกรวดขนาดเล็กเกิดการกลิ้งไปมา กระตุ้นให้ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจะค่อยๆ ก่อ

               เป็นชั้นบางตัวเคลือบเม็ดทรายหรือเม็ดกรวดจนเกิดเป็นไข่มุกถ้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หากน้ำในแอ่งแห้งลง
               ไข่มุกถ้ำก็จะหยุดการเจริญเติบโต และไข่มุกถ้ำที่จะเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องรอคอยหยุดน้ำที่จะตก
               ลงมาในแอ่งน้ำนี้ในอนาคต (รูปที่ 2.12)

                       ไข่มุกถ้ำรูปน้อยหน่า คือ ตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นเม็ดกลมผิวเรียบเกาะรวมตัวกัน
               เป็นก้อนขนาดใหญ่ ทำให้ก้อนไข่มุกมีผิวตะปุ่มตะป่ำคล้ายผลน้อยหน่า (รูปที่ 2.13)


                       หินปูนเกลียว (helictite) มาจากคำภาษากรีกว่า “helix” หมายถึง “การบิดเบี้ยว” คือ ตะกอน
               แคลเซียมคาร์บอเนตที่ก่อตัวลักษณะเป็นหลอดหินเติบโตไปในทิศทางที่ผิดปกติและขัดกับแรงโน้มถ่วง มี
               การเปลี่ยนแนวแกนของผลึกที่เติบโตจากแนวดิ่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งจนทำให้มีลักษณะโค้งหรือเป็นมุม
               แหลม สาเหตุของการคดงอของหินปูนเกลียว เนื่องจากน้ำที่ไหลในท่อขนาดเล็กมาก (น้ำสามารถไหลจาก
               ที่ต่ำไปที่สูงได้) และแรงดันน้ำ ทำให้ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตที่ค่อยๆ ก่อตัวจากน้ำที่ไหลออกมาจาก

               หลอดหินตามรูพรุนทำให้แรงโน้มถ่วงจึงไม่มีผลใดๆ  หินปูนเกลียวสามารถพัฒนาไปในทิศทางใดก็ได้ (รูป
               ที่ 2.14)





















               รูปที่ 2.4 ตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตก่อตัวที่พนถ้ำและสูงขึ้นไปในแนวดิ่ง เรียกว่า “หินงอก” (stalagmite)
                                                     ื้
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27