Page 23 - iายงานการเงิน ประจำปีงบประมาณ 2563
P. 23
การวิเคราะห์ฐานะการเงิน
การวิเคราะห์ฐานะการเงินขององค์การบริหารส่วนต าบลท่าอยู่
ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ.2563
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน เปรียบเสมือนกับ “ปรอทวัดไข้” ให้แก่องค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อให้
ผู้บริหารและผู้สนใจสามารถติดตามอาการเจ็บป่วยทางการบริหาร (administrative symptom) ขององค์การบริหาร
ส่วนตําบล ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายจัดบริหารสาธารณะและ /หรือนโยบายการบริหารการเงินการคลังขององค์กรได้
หากผู้บริหารได้มีการใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลฐานะทางการเงินแล้ว ย่อมนําไปสู่การเปิดมิติมุมมองใหม่ๆในการเพิ่ม
ศักยภาพด้านการบริหารการเงินการคลังให้กับองค์กรตนเองได้
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห ์
1. เพื่อให้ทราบฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของหน่วยงาน
2. เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจในปัญหาต่างๆของ
การดําเนินงาน
3. เพื่อการจัดสรรทรัพยากรของหน่วยงานอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
4. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตาม และประเมินผลการดําเนินงาน
5. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทํางบประมาณในอนาคต
วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห ์
1. การวิเคราะห์ตามแนวดิ่ง (Common size) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทีละด้าน โดยเปรียบเทียบ
อัตรา ร้องละขอสินทรัพย์รวม หรือ อัตราร้อยละของรายได้รวม ประโยชน์คือ สามารถรู้สภาพคล่องว่าหน่วยงานมี
สินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน ความสามารถของหน่วยงานในการบริหารสินทรัพย์ ความสามารถใน
การบริหารงาน เป็นอย่างไร
2. การวิเคราะห์ตามแนวนอน (Trend) เป็นการวิเคราะห์โดยใช้อัตราร้อยละของแนวโน้ม เพื่อดู
แนวโน้มหรือทิศทางของรายการต่างๆที่ปรากฏในงบการเงิน โดยกําหนดปีใดปีหนึ่งเป็นฐาน ปกติจะใช้ปีก่อนเป็นปี
ฐาน ประโยชน์จะเห็นเห็นแนวโน้มของตัวเลขทางการเงินของบัญชีที่สูงขึ้น คงที่ หรือลดลง ได้ชัดเจน สามารถ
เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังได้หลายๆงวดบัญชี
3. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) เป็นการวิเคราะห์อัตราส่วนเพื่อแสดง
สภาพคล่อง การบริหารสินทรัพย์ สภาพหนี้สิน ความสามารถในการบริหารงานสามารถใช้เปรียบเทียบหน่วยงาน
ตนเองกับหน่วยงานอื่น หรือหน่วยงานตนเองในหลายๆงวดบัญชีเพื่อพิจารณาแนวโน้มของการดําเนินงาน
รายงานการเงิน องค์การบริหารส่วนตําบลท่าอยู่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 | 17