Page 48 - แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
P. 48

โครงสร้างพื้นฐาน
                                1) โครงข่ายถนน  ถนนสายส้าคัญของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลางประกอบด้วยทาง

                  หลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ที่เชื่อมโยงจังหวัดสมุทรปราการเข้ากับจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกตาม

                  เส้นทาง สมุทรปราการ-ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ส่วนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 เชื่อมโยงชุมชนเมือง
                  ตามแนวเส้นทาง นครนายก-ปราจีนบุรี-สระแก้ว ในขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ท้าหน้าที่เชื่อมโยง

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
                  (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7) ที่เชื่อมโยงกันตามแนวเส้นทาง ลาดกระบัง-อ.บางปะกง-อ.เมืองชลบุรี- ทางหลวง

                  หมายเลข 36 นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายถนนสายรองที่เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดและอ้าเภอได้อย่างทั่วถึง

                  อาทิ ทางหลวงหมายเลข  314,  315,  317,  319,  331,  348 และ 359
                                2) ทางรถไฟ ทางรถไฟรางเดี่ยวมี 2 เส้นทางหลัก คือเส้นทางที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล

                  ตะวันออก และเส้นทางที่ไปยังจังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟรางคู่ขึ้น 2 สาย คือ ฉะเชิงเทรา-

                  ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร และสายคลองสินเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 82 กิโลเมตร
                  ซึ่งจะช่วยเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ให้กับจังหวัดฉะเชิงเทราที่จะเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออก และท่าเรือแหลมฉบัง

                                3) ท่าเรือ การคมนาคมขนส่งทางน้้าส่วนใหญ่จะผ่านท่าเรือในจังหวัดสมุทรปราการ
                  โดยใช้เรือ เล็กขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือไปขนถ่ายต่อเรือใหญ่ที่กลางแม่น้้าเจ้าพระยา เกาะสีชัง และท่าเรือแหลมฉบัง

                  ในขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทราจะท้าการขนส่งที่ท่าเทียบเรือบางปะกงไปยังเกาะสีชัง และท่าเรือแหลมฉบัง
                                 4)  สนามบิน สนามบินสุวรรณภูมิที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นตัวจักรส้าคัญในการขับเคลื่อน

                  การพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากจะก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องตามมาจ้านวนมากในพื้นที่โดยรอบ สนามบินและ
                  ตามแนวเส้นทางคมนาคมขนส่งหลักๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรม บริษัทที่ท้าธุรกิจโลจิสติกส์ ศูนย์แสดงสินค้า

                  โรงแรม ธุรกิจบันเทิง สถาบันศึกษา โรงพยาบาล และที่พักอาศัย เป็นต้น

                          กลุ่มจังหวัดภาคกลาง  3  มีท้าเลที่ตั้งที่เอื้อประโยชน์ ในการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษภาคกลาง 3 ดังนี้
                                1. เป็นที่ตั้งของท่าอากาศสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์

                                2. เป็นที่ตั้งที่เชื่อมโยงต่อการเดินทางกรุงเทพฯ ชายฝั่งทะเลตะวันออก และชายแดนไทย-กัมพูชา

                  จึงได้เปรียบด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว อาทิ
                                        - มีตลาดรองรับสินค้าและบริการ รวมทั้งแหล่งวัตถุดิบขนาดใหญ่ ได้แก่กรุงเทพฯ

                  ปริมณฑล และกลุ่มประเทศอินโดจีน

                                        - อยู่ใกล้แหล่งศูนย์กลางด้านธุรกิจการเงิน การธนาคาร การศึกษาวิจัย การสื่อสาร
                  โทรคมนาคม และการบริหารราชการ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจการลงทุนหรือขยายกิจการของ

                  ผู้ประกอบการต่างๆ
                                        - เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯและปริมณฑล

                                3. มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่นของประเทศ และกลุ่มประเทศอินโดจีน

                  ทั้งทางบก และทางน้้า อาทิ ถนนสายบางนา-ตราด ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ถนนวงแหวนรอบนอก และทางหลวง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53