Page 26 - หนังสือที่ระลึกพิธีเปิด E-book
P. 26
19
กฎหมายล้มละลายของไทยในสถานการณ์โควิด-19
นายเอื้อน ขุนแก้ว
ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน หรือที่เรียกว่าลูกหนี้มีหนี้สิน
ล้นพ้นตัว ทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย
หรือลูกหนี้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ที่ถึงกำหนดแล้วได้จะมีการนำกฎหมาย
ล้มละลายมาใช้ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
อย่างรวดเร็ว ในอัตราส่วนที่เป็นธรรม แต่ถ้าหากลูกหนี้ประกอบกิจการ และกิจการ
นั้นยังสามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ กฎหมายล้มละลายในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟู
กิจการจะนำมาใช้เพื่อรักษาองค์การทางธุรกิจนั้น รักษาการจ้างงาน และเพื่อให้
เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากกว่ากรณีที่จะให้ลูกหนี้ล้มละลาย
กฎหมายล้มละลายในปัจจุบัน
กฎหมายล้มละลายของไทยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
ซึ่งมีการแก้ไขมาหลายครั้งแล้ว ครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2561 ในพระราชบัญญัติ
ล้มละลายฯ ได้แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
คดีล้มละลาย ส่วนหลักจะเป็นการที่เจ้าหนี้ฟ้องขอให้ลูกหนี้
ล้มละลาย ตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เมื่อปรากฏว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็น
นิติบุคคลเป็นหนี้ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้
โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลล้มละลายแล้ว ศาลมีคำสั่งรับฟ้อง